การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง “พระจักรกรด” ฉบับวัดทุ่งลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • มธุรส คุ้มประสิทธิ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • ธัชชัย กรกุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

วรรณกรรม, พระจักกรด, กาญจนบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษาวรรณกรรมเรื่อง “พระจักรกรด” ผู้วิจัยได้ต้นฉบับจากวัดทุ่งลาดหญ้า ตำบล ลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีลักษณะเป็นหนังสือสมุดไทยขาว เขียนด้วยหมึกดำ อักษรไทย หน้าละ 6 บรรทัด เนื้อเรื่องยาวมีจำนวนมากถึง 76 หน้าสมุดไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตวรรณกรรมเรื่อง “พระจักรกรด” จากสมุดไทยขาว ฉบับวัดทุ่งลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และเพื่อศึกษาลักษณะของวรรณกรรมเรื่องรูปแบบของคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง และภาพสะท้อนทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเรื่อง “พระจักรกรด” ฉบับวัดทุ่งลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นวรรณกรรมเรื่องเดียวที่พบว่ามีเนื้อหาเป็นนิทานประโลมโลก หรือ จักร ๆ วงศ์ ๆ ตามความนิยมในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สำหรับรูปแบบคำประพันธ์พบว่ามีลักษณะเป็นกลอนนิทานหรือกลอนสุภาพ ใช้คำตามภาษาถิ่นภาคกลางหรือภาคตะวันตก มีสัมผัสไพเราะ อ่านเข้าใจง่าย แก่นเรื่องหลักเป็นเรื่องของความรัก ลักษณะตัวละครเอกมีอิทธิฤทธิ์ มีความสามารถในด้านการรบและมีเวทมนตร์คาถาเหนือมนุษย์ เนื้อหามีความน่าตื่นเต้นและชวนติดตาม ด้านภาพสะท้อนทางสังคมพบว่าในเนื้อเรื่องได้สอดแทรกความเชื่อชาวบ้าน เช่น เรื่อง โชคลาง การทำนายฝัน ความเชื่อในเรื่องพระพุทธศาสนา ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ประเพณี การต้อนรับ มีการกล่าวในเรื่องของกฎหมายข้อห้ามในการมีชู้ แสดงให้เห็นถึงความเกรงกลัวต่อกฎหมายและสะท้อนภาพลักษณ์ของผู้หญิงดีตามอุดมคติของคนไทย นับว่าวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมในยุคสมัยของกวีได้อย่างน่าสนใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์

Author Biographies

มธุรส คุ้มประสิทธิ์, สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี



ธัชชัย กรกุม, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

 

 

References

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2548). พัฒนาการของอักษรและอักขรวิธีไทย. กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้.

ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2530). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2564). สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2540 – 2560), วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 21(1), 214 – 237.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

วรรณา บางเสน. (2543). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องและอนุภาคในวรรณกรรมกลอนอ่านประเภทนิทานจากต้นฉบับตัวเขียนที่มีในหอสมุดแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

วิไล ธรรมวาจา. (2545). มหาชาติกัณฑ์ชูชก ฉบับเมืองชลบุรี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมพื้นบ้าน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพันธุ์ เลขะพันธุ์. (2532). วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2550). หนังสือโบราณของไทย. กรุงเทพฯ : โครงการฯ.

สุมาลี กระจายศรี. (2528). วรรณกรรมนิทานทรงเครื่องจากสมุดไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อนุมานราชธน, พระยา. (2502). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม.

อภิวัน เชื้อไทย. (2526). อักขรวิธีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31