ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • มนวรรธน์   โส๊ะหวัง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
  • เข้มนที   ศรีสุขล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
  • เมธาพร มีเดช วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
  • เกริกวุฒิ   กันเที่ยง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
  • นาตยา  ชูพันธ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพในการทำงาน, เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ซึ่งมี 3 เขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ เขตไสใหญ่ ทุ่งใหญ่ และขนอม มีเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนจำนวนทั้งสิ้น 347 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) แยกเขตได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 185 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพในระดับมาก คือ ด้านความผูกพันกับหน่วยงาน (X=3.93) ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (X=3.75) และด้านการทำงานเป็นทีม (X=3.72) ส่วนปัจจัยที่อยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านรายได้และสวัสดิการ (X=3.31) ด้านสัมพันธภาพของผู้ร่วมงาน (X=3.17) ด้านการบริหารจัดการ (X=3.02) ด้านการพัฒนา (X=2.96) และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ (X=2.73) และเมื่อนำปัจจัยดังกล่าวข้างต้นมาวิเคราะห์ผลที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานทั้ง 3 ด้านคือ ด้านความซื่อสัตย์และภักดีต่อองค์กร ด้านความขยันหมั่นเพียร และด้านความรับผิดชอบและเอาใจใส่ในงาน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสะท้อนว่า เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ยังขาดความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ในการพัฒนางานและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรจะมีมาตรการเสริมโดยเร่งด่วน เพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนมีประสิทธิภาพในการที่จะขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กรต่อไป

Author Biographies

เมธาพร มีเดช, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช

 

 

เกริกวุฒิ   กันเที่ยง, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช

 

 

นาตยา  ชูพันธ์, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช

 

 

References

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). เอกสารประกอบการสอน วิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชัชรินทร์ ทองหม่อมราม และ บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานของบุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี, วารสารการเมืองการปกครอง, 11(1), 118-139.

ชินโชติ นาไพรวัน, และ สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(1), 261-268.

พนิดา นิลอรุณ, และ ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. จันทรเกษมสาร, 21(41), 29-38.

พรพิมล คงฉิม. (2554). การศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าที่ได้รับบริการจากบริษัท เอ็ม.เอล.อี. - ดีแมก (ที) จำกัด (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชญา วัฒนะรังสรรค์, และ ชลวิช สุธัญญารักษ์. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 11(1), 71-80.

พักตร์พิมล สมบัติใหม่, และ กมล ทิพย์คำใจ. (2558). แรงจูงใจของพนักงานมหาวิทยาลัยสาย

สนับสนุนที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน. Journal of Graduate Research, 6(2),

-139.

มยุรี บุญเยี่ยม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพ สังขะ. สุรินทร์: วิทยาลัยการอาชีพสังขะ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

เมธี ไพรชิต. (2556). การหาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท สุธานี จำกัด (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

วัลลภ สันติประชา. (2561). บทบาทและหน้าที่บุคลากรสายสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารวิชาการ ปขมท., 7(1),1-2.

สมใจ ลักษณะ. (2544). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาการจัดการ, สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

สุพจน์ เอี้ยงกุญชร. (2560). บทบาทหน้าที่สำคัญของฝ่ายสนับสนุนต่อภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการ ปขมท., 6(3), 1-4.

อรสุดา ดุสิตรัตนกุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์: ศึกษาเฉพาะกรณีของบุคลากรส่วนกลาง (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1996). Affective, continuance, and normative commitment to the organization: An examination of construct validity. Journal of vocational behavior, 49(3), 252-276.

Chuchet, S. (2013). Performance improvement. Graduate Studies, Faculty of Education, Ramkhamhaeng University.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Millett, J. D. (1954). The Organization and Role of the Army Service Forces. Office of the Chief of Military History, Department of the Army.

Plowman, E., & Peterson, C. (1989). Business organization and management. Illinois: Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31