การสังเคราะห์งานศึกษามรดกภูมิปัญญาการเล่นกลองบานอในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • พรพันธุ์ เขมคุณาศัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปริยากรณ์ ชูแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • คมวิทย์ สุขเสนีย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
  • กรุณา แดงสุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์, มรดกภูมิปัญญา, การเล่นกลองบานอ, พื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้งานศึกษาเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาการเล่นกลองบานอในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการวิจัย บทความวิจัย บทความวิชาการ และหนังสือ ในรอบ 34 ปี (พ.ศ.2525-พ.ศ.2559) ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอกสาร การวิเคราะห์ ตีความ จำแนก องค์ประกอบ การจัดระบบข้อมูล การเชื่อมโยง เปรียบเทียบเนื้อหา และสรุปข้อมูล ผลการสังเคราะห์พบว่า 1) ผู้ศึกษาการเล่นกลองบานอ จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มอนุรักษ์ และหน่วยงานที่มี พันธกิจเกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรม 2) บานอเป็นมรดกวัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดงอันเก่าแก่ของคนมลายูในบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย มีการกระจายตัวการเล่นกลองบานอตามหมู่บ้านต่าง ๆ มีประวัติความเป็นมาและการสืบทอด มีที่มาของชื่อเรียกกลองบานอ มีพัฒนาการด้านขนาด สีสันของกลอง สถานที่เล่น โอกาสในการเล่น องค์ประกอบ ขนบนิยมในการเล่น ลักษณะการเล่น การทำกลอง มีความเชื่อ และมีการฟื้นฟูมรดกภูมิปัญญาการเล่นกลองบานอ

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). ศิลปะการแสดง:มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

นเรศ ศรีรัตน์. (2542). “บานอ” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2558). ชื่อบ้านนามเมืองภาษามลายูในคาบสมุทรภาคใต้ของไทย, ดำรงวิชาการ. 14(1), 11 – 32.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2540). บุหงาปัตตานี: คติชนไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : มติชน.

พรพันธุ์ เขมคุณาศัย. (2541-2542). บานอ : สื่อสะท้อนภูมิปัญญาของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้, วารสารปาริชาต. 11(2), 30-36.

ไพบูลย์ ดวงจันทร์. (2525). บานอ:กลองยักษ์ของชาวไทยมุสลิม, วัฒนธรรมไทย. 21(9), 9 – 18.

สว่าง เลิศฤทธิ์. (2536). กรือโต๊ะ-บานอ : ดนตรีแห่งชาติพันธุ์, วารสารทักษิณคดี. 3(2), 97– 102.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. (2555). การส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส. นราธิวาส : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. (2556). กลองบานอ 1 อำเภอ 1 อัตลักษณ์ความภาคภูมิใจ อำเภอแว้ง. นราธิวาส : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส.

อุดม หนูทอง. (2531). ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ สงขลา.

Elaine Lee. (2006). Ethnic musical instruments of Malaysia. Win Publication.

Miller, Terry; Williams, Sean. (2011). Vietnam. In The Garland Handbook of Southeast Asian Music. Abingdon, Oxon: Routledge.

Razak Akmaliah. (2016, 7 Febuary). Medium tubing drum up to news. Sinar Harian Newspaper. Sinar Karangkraf Sdn Bhd.

The Straits Times Annual. (1972, 19 April). Straits Times Press: Malay Peninsula. 19-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31