การถ่ายทอดความรู้ด้วย SECI Model เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรของวิสาหกิจชุมชนตำบลนาข้าวเสียและเครือข่าย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
การถ่ายทอดความรู้, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, วิสาหกิจชุมชน, SECI Modelบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอ การถ่ายทอดความรู้เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแก่ผู้ที่คาดหมายว่าสามารถเป็นนวัตกรท้องถิ่น ซึ่งเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนตำบลนาข้าวเสีย เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลโคกสะบ้า วิสาหกิจเกษตรนาข้าวและสมุนไพรตำบลนาโยงใต้ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ด้วยวิธีการการอบรมเชิงปฏิบัติการระยะสั้นเรื่องการสร้างเว็บไซต์จำหน่ายสินค้า การสร้างเรื่องเล่าของผลิตภัณฑ์ และเรื่องการผลิตสื่อดิจิทัลของผลิตผลทางการเกษตร การปรับแต่งภาพ การตัดต่อวิดีโอ ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปฟรีออนไลน์ บทความนี้ใช้โมเดลเซกิ (SECI Model) เป็นแนวทางในการอธิบายกระบวนการถ่ายทอดความรู้จากทีมวิทยากรที่ประกอบด้วยอาจารย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ปี 2561 นักเขียนรางวัลซีไรต์สองสมัย (2554 และ 2563) และอดีตนักจดหมายเหตุที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจังหวัดตรัง จากการถ่ายทอดความรู้พบว่าสมาชิกวิสาหกิจชุมชนได้รับความรู้ มีความเข้าใจ สามารถพัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้เป็นช่องทางการเผยแพร่ จำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้มีการทบทวนการเขียนวิสัยทัศน์พันธกิจของวิสาหกิจฯด้วยการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และมีพลัง ต้นแบบการกำหนดชื่อสินค้า และการเล่าเรื่องของแหล่งผลิตสินค้า ภายหลังจากเสร็จสิ้นการอบรมเชิงปฏิบัติแล้วจะยังคงมีการให้คำปรึกษา แนะนำความรู้เพิ่มเติมตามความต้องการผ่านตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ รวมถึงการติดตามการต่อยอดความรู้ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณของการเผยแพร่ ปรับปรุงเว็บไซต์ร้านขายสินค้าของวิสาหกิจชุมชน การเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ในช่องทางที่หลากหลาย ยอดจำหน่ายสินค้าและบริการ บทเรียนของการถ่ายทอดความรู้นี้จะใช้เป็นต้นแบบ เพื่อการเผยแพร่และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยมีนวัตกรในโครงการนำร่องนี้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับวิสาหกิจชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์การเกษตรกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563–2570.
https://www.mhesi.go.th/index.php/stg-policy/930-2563-2570.html
โคกสะบ้า. (2565). https://kanokwan13737.wixsite.com/my-site-1.
จิราพร จำปา. (2565). ตรัง ดัน “ข้าวเบายอดม่วง” สู่พืช GI หอม นุ่ม โภชนาการสูง. https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_209726.
จำลอง ฝั่งชลจิตร จเด็จ กำจรเดช และสุนทรีย์ สังข์อยุทธ. (2565). การฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่องการเขียนเนื้อหาในยุคดิจิทัล” ภายใต้โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ ในวันที่ 8 มีนาคม 2565 ณ วิสาหกิจชุมชนพัฒนาแปรรูปและจัดจําหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ตําบลนาข้าวเสีย อําเภอนาโยง จังหวัดตรัง.
Digital Tips. (2022). Content marketing คืออะไรพร้อมตัวอย่างการทำคอนเทนต์ให้น่าสนใจ. https://thedigitaltips.com/blog/marketing/content-marketing/.
ทวี เต็งรัง. (2559). ถิ่นบรรพกาล ในสุนทรี สังข์อยุทธ์. เมืองท่าอันดามัน. (น.15-28). โรงพิมพ์บริษัทยืนหยัดชัดเจน.
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เรื่องคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และการต่อทะเบียนของวิสาหกิจชุมชน. (2560). (2560, 3 กรกฏาคม). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 134 ตอนพิเศษ175ง. หน้า 15–16.
พิเชตวุฒิ นิลลออ. (2564). โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมระดับตำบล 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย. วิสาหกิจชุมมชนตำบลนาข้าวเสีย (ไฟล์ข้อมูล).
Morph. (2021). 10 โปรแกรมติดต่อวิดีโอโหลดฟรีใช้ง่ายเป็นมือใหม่ก็สบาย. https://notebookspec.com/web/534464-10-video-editor-programs.
Wix.com. (2020-2022). พื้นที่การสร้างเว็บไซต์อย่างมีอาชีพ. https://th.wix.com/.
วีรพล เต็งรัง. (2564). โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมระดับตำบล 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย. วิสาหกิจชุมมชนตำบลนาข้าวเสีย (ไฟล์ข้อมูล).
ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร และกุมารี ลาภาอาภรณ์. (2559). กระบวนการจัดการความรู้ผ่านการถ่ายทอดความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนฮากกาออนไลน์: ความสำเร็จและความท้าทาย Knowledge management (KM): Transmitting local wisdom of the Hakka community on-line-successes and challenges. วารสารภาษาและวัฒนธรรม 35 (ฉบับพิเศษ), 203-225.
Step Academy. (2019). 7 สูตรการเล่าเรื่อง Storytelling ให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำ. https://stepstraining.co/content/7-formula-storytelling.
องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย. (2549). สภาพและข้อมูลพื้นฐานตำบลนาข้าวเสีย. https://www.nakhaosia.go.th/index.php.
Cambridge Advanced Leaner’s Dictionary & Thesuarus. (2016). Khowledge. In https://dictionary.cambridge.org/dictionary/English/.
CLICKNEXT Company limited. (2019 ). MakeWebEasy. https://www.clicknext. com/makewebeasy.
Kaplan, K. (2023). Why every business needs a website. http://www.forbes.com/sites.
KMT. (2018). The Different Types of Knowledge. http://www.knowledge-management-tools.net/different-types-of-knowledge.html.
Nonaka, I. (1994). “A dynamic theory of organizational knowledge creation” Organ. Sci. 5, 14–37. doi: 10.1093/fampra/cmw098.
Nonaka,I, and Hirotaka T. (1995). The Knowledge-Creating Company: How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. Oxford University Press, 1995.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.