ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุ ของข้าราชการครูในจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา หลีกภัย คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
  • เทพยุดา เฝื่อคง คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุ, ข้าราชการครู, จังหวัดตรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของข้าราชการครูในจังหวัดตรัง ศึกษาเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของข้าราชการครูในจังหวัดตรัง จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ และศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของข้าราชการครูในจังหวัดตรัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 และเขต 2 จังหวัดตรัง และครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของข้าราชการครูในจังหวัดตรังในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของข้าราชการครูในจังหวัดตรัง จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ พบว่า ข้าราชการครูในจังหวัดตรังที่มีอายุ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนบุตรที่แตกต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และผลการวิเคราะห์ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของข้าราชการครูในจังหวัดตรัง พบว่า อายุส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของข้าราชการครูในจังหวัดตรังที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

ณัฐกาญจน์ เกษรบัว และพอดี สุขพันธ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุทำงานของบุคลากรสำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”, 177-188. วันที่ 30 พฤสจิกายน 2561 ณ บัณฑิตวิทยาลัย อาคาร 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธิดารัตน์ อติชาตินันท์ และแพรวพรรณ มังคลา. (2554). การวางแผนการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิภาพร เกิดมาลัย และมนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของข้าราชการครู ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 (9th RMUTNC), 1440-1451. วันที่ 7-9 สิงหาคม 2560 ณ ห้องจูปิเตอร์ 13 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี นนทบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

บรรลุ ศิริพานิช. (2539). ชมรมผู้สูงอายุ : การศึกษารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม (รายงานการวิจัย). กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: พิมพลักษณ์.

ประนอม โอทกานนท์. (2554). ชีวิตที่สุขสบายของผู้สูงอายุไทย หลักการ งานวิจัย และบทเรียนจากประสบการณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยดา วงศ์วิวัฒน์ และชาญเดช เริญวิริยะกุล. (2562). การเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, วารสารสมาคมนักวิจัย. 24(3), 348-361.

ราชบัณฑิตสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.

วิเศษ ชิณวงศ์. (2552). กระบวนทัศน์ใหม่ของการผลิตครู. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/.

ศฤนพรรณ ยิ่งอนุรักษ์วงค์. (2559). การเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุราชการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. การบริหารการศึกษา สาขาวิทยบริการกาญจนบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ.

อังคณา วิชิต. (2560). การเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุของพนักงานการเคหะแห่งชาติ : กรณีศึกษาพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานใหญ่, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 8(1), 27-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-24