ผลการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้วัฏจักร 6A ในรายวิชาสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • คุณัชญ์ สมชนะกิจ สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • เคนอิชิโร คุทสึนะ สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พัชราภรณ์ นิลอุบล สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ชวเลิศ เทพประดิษฐ์ สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

วัฏจักร 6A, การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้, สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้วัฏจักร 6A 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 2 ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้วัฏจักร 6A การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้วัฏจักร 6A จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อแผนการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้วัฏจักร 6A สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น หลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้วัฏจักร 6A สูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยใช้แผนการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้วัฏจักร 6A โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากการศึกษาครั้งนี้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนการสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้โดยใช้วัฏจักร 6A มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนสังคมและวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้นจากการรู้จักตั้งคำถามและฝึกคิดวิเคราะห์ร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม อย่างไรก็ตามผู้สอนควรวิเคราะห์เนื้อหาในแต่ละหัวข้ออย่างระมัดระวังให้มีปริมาณเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียน

References

คุณัชญ์ สมชนะกิจ. (2562). การศึกษาเบื้องต้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการใช้แผนจัดการเรียนรู้ 5E ในรายวิชา โครงสร้างภาษาญี่ปุ่น1: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 (หน้า 543-550). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ณฐกรณ์ ดำชะอม. (2555). ผลของการจัดการเรียนรูด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรูแบบ 5A และ วิธีการทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประวัติศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ. 15, 1-13.

นิภาพร ช่วยธานี, ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์, และพินิจ ขําวงษ์. (2562). การส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางสะเต็มของนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่บูรณาการการสร้างข้อโต้แย้ง (6E+A), วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(10), 5179-5192.

เนตรดาว สร้อยแสง, ชนวัฒน์ ตันติวรานุรักษ์, และเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นโดยเน้นการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(2), 153-164.

ประภัสสร ปรีเอี่ยม. (2561). บุพปัจจัยการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้เทคนิคการเสริมต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของครูในชั้นเรียนรวม, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 12(3), 271–280.

ราชกิจจานุเบกษา. (วันที่ 31 มีนาคม 2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. เล่ม 139 ตอนที่ 20 ก : 3-11.

วิลาวัณย์ หงษ์อนุรักษ์. (2563). สำรวจความคิดเห็นที่มีต่อรายวิชาสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2(2), 61-75.

ศิริลักษณ์ กมลนัด, ประภัสสร ปรีเอี่ยม, และทัชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสืบเสาะหาความรู้เรื่องอาณาจักรสุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(4), 75-84.

Bruner, J. S. (1961). The act of discovery, Harvard Educational Review. 31 (1), 21–32.

Hori, K. (2014). How learners regard the culture that appeared in the Japanese language as explored in the class entitled "Japanese language and culture", The Bulletin of Institute of Human Sciences, Toyo University. 16, 131-145.

Krathwohl, D.R. (2002). A Revision of Blooms’ Taxonomy: An Overview, Theory into Practice. 41, 212-218.

Kurachi, A. (1992). Dialogue: A path leading beyond cultural diversity. Keisoshobo.

MEXT. (2013). Ima motomerareruchikarawo takameru sougoutekina gakushuu no jikanno tenkai. Retrieved on 12 November 2009

from https://www.mext.go.jp/a_menu/shotou/sougou/1326947.htm.

Mizuuchi, H., &Li, R. (2006). A new viewpoint and development of the teaching materials of “the Japan conditions education”, Bulletin of The Faculty of Education, Chiba University. 54, 55-62.

Naito, H. (2014). A Study of the Teaching Materials of "Nihon jijyo”: “Kimono culture” as a teaching materials, Komazawa journal of Japanese culture. 8, 150-138.

Narita, S. (2021). Tankyuutekina gakushuuno shidouhouhou nikakawarukousatsu- Sougoutekina gakushuuno jikanno jissenjireiwo tooshite- , Review of Aomori Chuo Gakuin University ACGU journal. 34, 34-54.

Onuki, M. (2018). Examination of R. W. Bybee’s 5E Instructional Model: Comparison with R. Karplus’ Learning Cycle model, Kyoto University Research Studies in Education. 64, 373-385.

Pedaste, M & Mäeots, M & Siiman, L & Jong, T & Riesen, S & Kamp, E & Manoli, C & Zacharia, Z & Tsourlidaki, E. (2015). Phases of inquiry-based learning: Definitions and the inquiry cycle, Educational Research Review. 14(1), 47-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-24