กลอนนิราสปากพนังของหลวงประคองคดี: ลักษณะเด่นและความสัมพันธ์กับท่วงทำนองการแต่งของสุนทรภู่
-
คำสำคัญ:
กลอนนิราศปากพนัง, ท่วงทำนองการแต่ง, สุนทรภู่, Klon Niras Pak Phanang, Poetic Style, Sunthorn Phuบทคัดย่อ
วรรณกรรมร้อยกรองเรื่องกลอนนิราสปากพนังเป็นผลงานของหลวงประคองคดี แต่งช่วงพ.ศ. 2482 กวีบันทึกการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปราชการที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะเด่นของเรื่องนี้คือการดำเนินเรื่องตามขนบของนิราศ ด้วยการพรรณนาความรักความอาลัยที่มีต่อนางอันเป็นที่รัก การเชื่อมโยงสถานที่กับความรู้สึกนึกคิดของกวี การบรรยายธรรมชาติหรือบรรยายสภาพการเดินทาง การบันทึกสภาพสังคม เน้นไปที่ท้องถิ่นภาคใต้ ทั้งด้านศาสนสถานสำคัญ ด่านและสถานที่ต่าง ๆ ทรัพยากรธรรมชาติ เรื่องเล่าท้องถิ่น การประกอบอาชีพ กลุ่มประชากร ย่านที่พักนักท่องเที่ยวหรือแหล่งบันเทิงเริงรมย์ สำเนียงภาษา ระบบการขนส่งและสิ่งก่อสร้าง ปัญหาชุมชน และการบริหารจัดการของรัฐท้องถิ่น กวียังแสดงแนวคิดต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ กวีถ่ายทอดเรื่องเล่าผ่านท่วงทำนองการแต่งที่หลากหลาย ได้แก่ การเล่นคำ การหลากคำ การใช้ภาษาเปรียบเทียบ การกล่าวเท้าความ การใช้คำสร้อย และการใช้คำแสดงอารมณ์ โดยพบว่า ท่วงทำนองการแต่งในเรื่องคล้ายกับผลงานของสุนทรภู่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ผลงานประเภทนิราศ ทำให้เห็นอิทธิพลของสุนทรภู่ที่ส่งผลต่อกวีรุ่นหลังอย่างชัดเจน กระนั้น กวีก็สร้างสรรค์ความโดดเด่นของเรื่องเล่าด้วยการบันทึกสภาพสังคมภาคใต้ในทศวรรษ 2480 อย่างลุ่มลึก ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นพลวัตสังคมภาคใต้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้เห็นการสืบสานวรรณคดีประเภทนิราศที่มีอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้ขยายขอบเขตวรรณกรรมร้อยกรองประเภทนิราศในสมัยรัตนโกสินทร์ให้กว้างขวางออกไปด้วย
The literal work “Klon Niras Pak Phanang” was written by Luang Prakhongkhadee in 1937. It was a record of the poet’s official journey from Bangkok to Pak Phanang district in Nakon Si Thammarat province in the South of Thailand. The outstanding characteristic of this literal work was the poet’s style of writing of which the traditional style of Niras was followed by describing his love and longing for the lady he loved. Also, there were the connections between places he passed and the poet’s feelings, descriptions of the nature or travel conditions, and records of social conditions focusing on those of the Southern areas such as important religious places, checkpoints, and other places as well as the natural resources, folktales, occupations, population, tourist accommodations, or entertainment places, people’s accents, transportation system, buildings, community problems, and local government administration. Moreover, the poet also presented his ideas on various issues which could be adapted for everyday life. The story was narrated via various poetic styles such as puns, diversification, comparison, allusion, suffix, and emotional words. It was also found that Luang Prakhongkhadee’s style of writing was very similar to that of Sunthorn Phu (one of Thai outstanding poets), especially on Niras. This clearly signified the influence of Sunthorn Phu’s works on the poets of later generations. The poet’s narration was prominent because of his deep record on the Southern society conditions in 1937. Apart from more learning the dynamic of Southern societies, the study of this Niras also reflected the continuous inheritance of Niras as a kind of literary work as well as a broader expansion of the horizon of Rattanakosin’s Niras.
References
ชนัญชิดา บุญเหาะ. (2561). ความรักชาติในนิราศที่แต่งระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2548). ชีวประวัติและผลงานของสุนทรภู่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุมชนเจ็ดเสมียน วัดเจ็ดเสมียน และสวนศิลป์บ้านดิน. (2553). หนึ่งเดียวตลาดวัฒนธรรมเมืองราชบุรี ตลาดเก่า 119 ปี เจ็ดเสมียน. ใน เอกสารประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553.
ณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2547). นิราศสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และไพวรินทร์ ขาวงาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิพัทธ์ แย้มเดช และสมบัติ มั่งมีสุขศิริ. (2563). “อิสระแห่งกวี” ในนิราศภูเขาทอง และนิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(3),1-13.
บัวงาม ห่อแก้ว. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชา 0111363 วรรณคดีนิราศ. สงขลา : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ประคองคดี, หลวง. (2482). กลอนนิราสปากพนัง. ม.ป.ท.
พรเทพ โตชยางกูร. (2553). การอ้างถึงในนิราศสมัยใหม่ : กลวิธีการสื่อสารและการสร้างอารมณ์สะเทือนใจ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พอพล สุกใส. (2564). ทรรศนะ โลก ความรู้ สุนทรภู่ กับ ‘ประดิษฐการ’ ใหม่ กวีนิพนธ์ล้ำหน้าต้นกรุงรัตนโกสินทร์, มติชนรายวัน. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2565, จากhttps://www.matichon.co.th/prachachuen/news_2793538.
พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2560). อิทธิพลของสุนทรภู่ที่มีต่อการสร้างสรรค์หนังสือวัดเกาะภาคใต้ช่วงพ.ศ. 2470-2520. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 9 (1), 127-147.
พิเชฐ แสงทอง. (2547). อัตลักษณ์และพลวัตวรรณกรรมกลุ่มนิราศ. ใน วรรณกรรมทักษิณ: วรรณกรรมปริทัศน์, 481-490. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
พิเชฐ แสงทอง. (2564). การสร้างความทรงจำและภาพแทนทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ของกวีจากเรื่องนิราศปัตตานี. วารสารรูสมิแล. 42(2), 63-83.
ยุวดี ดำรงพันธ์. (2537). โวหารภาพพจน์ในนิราศสุนทรภู่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วารุณี โอสถารมย์. (2547). เมืองสุพรรณ บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ พุทธศตวรรษที่8- ต้นพุทธศตวรรษที่ 25. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วารุณี โอสถารมย์. (2550). นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่และเสมียนมี: บันทึกการเดินทางและการอ่านเพื่อเข้าถึงเรื่องเล่าท้องถิ่น. รัฐศาสตร์สาร. 28(2), 323-384
สมบัติ จันทรวงศ์. (2537). โลกทัศน์ของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ : มติชน.
สุปาณี พัดทอง. (2552). "เรือ" ในวรรณคดีนิราศ : มโนทัศน์กับการสร้างวรรณศิลป์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร พลายเล็ก. (2541). นิราศสมัยรัตนโกสินทร์ : การสืบทอดขนบวรรณศิลป์จากพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. (2465). ประชุมกลอนนิราศต่าง ๆ ภาคที่ 1. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566,จาก HTTPS://VAJIRAYANA.ORG
อามานี อาบูดอแล. (2561). นิราศไปจังหวัดตรัง. วารสารรูสมิแล. 39 (3),77-90.
อำภาพร รินปัญโญ. (2561). วัจนคำสอนในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.