การเขียนเรียงความในโครงการประกวดทักษะการใช้ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาภาคใต้ชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ผู้แต่ง

  • ศรีอังคาร ถาวโรฤทธิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การตั้งชื่อ, คำนำ, แนวคิด, เรียงความ, สรุป

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เรียงความของนักเรียนในโครงการ ประกวดทักษะการใช้ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาภาคใต้ ชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปีพ.ศ. 2561-2562 ในประเด็น การตั้งชื่อ การเขียนส่วนคำนำส่วนสรุป และ แนวคิดในการเขียน การตั้งชื่อเรียงความพบ กลวิธีทางเสียง 2 ลักษณะ คือ 1) การใช้คำสัมผัส คล้องจอง 1 แห่ง และการสัมผัส 2 แห่งขึ้นไป 2) การเล่นเสียง 2 ลักษณะ คือ การเล่นเสียงพยัญชนะและ การเล่นเสียงสระ ส่วนกลวิธีทางศัพท์มี 6 ลักษณะ คือ การใช้ภาพพจน์ การใช้คำพ้องเสียง การซ้ำคำการใช้ที่มีความหมายตรงข้ามกัน การใช้คำที่มีเสียงใกล้เคียงกัน และการใช้ศัพท์สูงการเขียนคำนำเรียงความปรากฏ 8 ลักษณะ ได้แก่ การใช้บทประพันธ์ การยกคำพูด การบอกเนื้อหา การนิยาม การใช้คำถาม การพรรณนา การสาธก และ การเขียนตรงไปตรงมา การเขียนสรุปเรียงความปรากฏ 10 ลักษณะ ได้แก่ การเสนอแนะ การนำให้คิด การชักชวน การใช้บทประพันธ์ การอ้างถึง การพรรณนา การใช้สุภาษิต การใช้ภาพพจน์ การตั้งคำถาม และการเน้นย้ำใจความ แนวคิดในการเขียนเรียงความมี 9 แนวคิด ได้แก่ 1) พระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทยและพระบรมวงศ์ที่มีต่อภาษาไทย 2) พ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์อักษรไทย 3) ภาษาไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ 4) ภาษาไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติ 5) ลักษณะของภาษาไทย 6) ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการ สื่อสาร 7) คุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย 8) ประเทศไทยโชคดีที่มีภาษา เป็นของตนเอง และ 9) การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.

คนึงนิจ จานโอ. (2546). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 1. กรุงเทพฯ: มณฑลการพิมพ์.

ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2526). สัมมนาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: กรุงสยาม.

ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2549). ทักษะการเขียนภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปลื้อง ณ นคร. (2497). เรียงความชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 4). พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ผจงวาด พูลแก้ว พัชณี ปี่เพราะ และสุวรรณี โสประดิษฐ์. (2551). การเขียนเรียงความ จดหมาย. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ผะอบ โปษะกฤษณะ. (2544). ลักษณะของภาษาไทย การเขียน การอ่าน การพูด การฟัง และราชาศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

ภาณุพงศ อุดมศิลป์. (2546). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.

เยี่ยมลักษณ์ เอี่ยมศิริ. (2548). วิเคราะห์เรียงความที่ชนะเลิศการประกวด รางวัลเงินทุนภูมิพล พ.ศ. 2523-2541 (การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิชั่นส์.

รุ่งโรจน์ เดชศิริเจริญชัย. (2554). ปัญหาการเขียนเรียงความของนักเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จากโรงเรียนต่างประเภท. (ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19