การสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงโหมโรงพริบพรี

ผู้แต่ง

  • ปราชญา สายสุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

โหมโรง, การประพันธ์เพลง, เพชรบุรี

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงโหมโรงพริบพรี มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ เป็นเพลงโหมโรงประจำวงดนตรีไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยได้รับ แรงบันดาลใจจากการที่ยูเนสโกได้ประกาศให้จังหวัดเพชรบุรีเป็นเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์โลกด้านอาหาร ประจำปี 2564 โดยจังหวัดเพชรบุรีมีวัตถุดิบชั้นเลิศสำหรับ ในการนำไปปรุงอาหาร ให้รสชาติที่โดดเด่น ได้แก่ “รสหวาน” จากน้ำตาลโตนดอัน ลือชื่อ “รสเค็ม”ของเกลือ ที่ได้จากพื้นที่อำเภอบ้านแหลม และ “รสเปรี้ยว” จาก มะนาวแป้นคุณภาพดีมีเปลือกบาง ผู้วิจัยได้นำรสทั้งสามนี้ เป็นตัวแทนของท่อนเพลง จำนวน 3 ท่อน โดยท่อนที่ 1 แสดงถึงความหวาน ท่อนที่ 2 แสดงถึงความเค็ม และ ท่อนที่ 3 แสดงถึงความเปรี้ยว โดยกำหนดให้ใช้หน้าทับปรบไก่ 3 ชั้น แต่ละท่อนมี 4 จังหวะ และมีการใช้ทางเสียง 3 ทางเสียง ได้แก่ ทางเสียงเพียงออบน ทางเสียง เพียงออล่าง และทางเสียงชวา

References

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2564). เมืองเพ็ชร์ เมือง 3 รส Phetchaburi City of the 3 Flavors. เพชรบุรี : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2530). สังคีตนิยมว่าด้วยการดนตรีไทย. กรุงเทพฯ : โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

บุญธรรม ตราโมท. (2545). คำบรรยายวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

พิชิต ชัยเสรี. (2556). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ หาวิทยาลัย.

มนัส ขาวปลื้ม. (2541). แม่ไม้เพลงกลอง. กรุงเทพฯ : บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.

วิทยาลัยครูเพชรบุรี. (2525). ประชุมนิราศเมืองเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : กรุงสยาม การพิมพ์.

สงัด ภูเขาทอง. (2539). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ. (2546). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19