แรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เซรามิกของจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดลำปาง เป็นวิจัยเชิงสำรวจ โดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 400 คน ใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่มีรายได้ 10,000 – 20,000 บาท และอาชีพส่วนใหญ่อาชีพพนักงานเอกชน ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่มักจะซื้อบ่อยที่สุดคือ อุปกรณ์เครื่องครัว ค่าใช้จ่ายที่ซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกในแต่ละครั้ง 100 – 500 บาท ส่วนความคิดเห็นแรงจูงใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อเซรามิก อยู่ในระดับมาก (=4.07) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นอันดับแรก ได้แก่ แรงจูงใจด้านอารมณ์ (=4.09) รองลงมา แรงจูงใจด้านเหตุผล (=4.05) ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม อยู่ในระดับมาก (=4.09) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (=4.25) รองลงมา ด้านราคา (=4.09) ด้านผลิตภัณฑ์ (=4.05) และ ด้านการส่งเสริมการตลาด (=3.98) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดลำปาง มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และอิทธิพลของแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐนพิมพ์ ทีฆะสุข. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของฝากของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี, วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์. 4(2), 71.
พิบูล ทีปะปาล. (2545). หลักการตลาดยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
พงศ์ธนา ภายไธสง. (2554). ภาพรวมอุตสาหกรรมเซรามิกประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2564, จาก https://sites.google.com/site/phngsthnaphaythisng/kar-tlad-se-ra-mik.
มติชนออนไลน์. (2565). เอสซีจี เซรามิก. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.matichon.co.th/economy/news_2549171.
วิไลพร พิมพา และ อรชร มณีสงฆ์. (2558). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกในจังหวัดลำปาง (การค้นคว้าแบบอิสระ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรุตม์ ประไพพักตร์. (2556). ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องครัวในเขตอําเภอเมือง จังหวัดระยอง (การค้นคว้าแบบอิสระ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2560). แนวทางการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมเซรามิกสมัยใหม่ให้ก้าวทันอุตสาหกรรมอนาคต. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/ArticlesAnalysis/ modern_ceramic.pdf.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2552). อุตสาหกรรมเซรามิก. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2564, จาก https://
www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/17103.aspx.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทธรรมสาร จำกัด.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.
หัสดินทร์ สอนปะละ และล่ำสัน เลิศกูลประหยัด. (2560). แรงจูงใจและส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเซรามิกของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเอาท์เลทเซรามิก จังหวัดลำปาง, วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(1), 215.
อุไรวรรณ แย้มนิยม. (2537). การส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อริสา สำรอง. (2556). จิตวิทยาการตลาดและผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests, Psychometrika. 16(3), 297-334.
Domjan, M. (1996). The Principles of Learning and Behavior Belmont. California: Thomson Wadsworth.
Kotler, Philip. (2000). Marketing Management. The Millennium edition.New Jersey: Prentic – Hall.
Lovell, R. B. (1980). Adult Learning. New York: Halsted Press Wiley & Son.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.