แพลตฟอร์มการจัดการฐานข้อมูลสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ชุมชนปากบารา

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ทนงศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • อรจิรา สิทธิศักดิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ชีวนันท์ คุณพิทักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

แพลตฟอร์ม;, การจัดการฐานข้อมูล, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ชุมชนปากบารา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและพัฒนาแพลตฟอร์มการสร้างฐานข้อมูลสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน พื้นที่วิจัยประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 2 บ้านปากบารา หมู่ 4 บ้านตะโละใส และหมู่ 6 บ้านท่ามาลัย ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการท่องเที่ยว ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการในพื้นที่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา แบ่งการวิจัยออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) ระยะเตรียมการ เพื่อความเข้าใจใน บริบทของพื้นที่ โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการพูดคุย รับฟังความคิดเห็นกับกลุ่มเป้าหมาย 2) ระยะการทำวิจัย เป็นการประเมินความต้องการการพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชน 3) ระยะการจัดทำแผน เป็นการนำผลที่ได้จากระยะการทำวิจัย มาออกแบบร่างฐานข้อมูล 4) ระยะการนำแผนไปปฏิบัติ จากการเก็บข้อมูลจากแบบสำรวจที่พัฒนาขึ้นจากระยะที่ 3 ป้อนข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นจัดอบรมการจัดการฐานข้อมูลให้กับผู้ดูแลและผู้ใช้ 5) ระยะติดตามประเมินผล การนำฐานข้อมูลไปใช้ โดยใช้แบบประเมินผลและแบบสัมภาษณ์ ผ่านทางระบบออนไลน์ รวมถึงการจัดเวทีพูดคุยกลุ่มย่อย ผลการศึกษาพบว่า ฐานข้อมูลของทั้งสามหมู่บ้านถูกจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ ประกอบไปด้วย ประวัติความเป็นมา ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลด้านประชากร ลักษณะภูมิประเทศ การคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงข้อเสนอแนะในการนำฐานข้อมูลไปใช้จริงในพื้นที่

 

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยงเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (กันยายน 2563).

จีระนันท์ ทองสมัคร, รุ่งรวี จิตภักดี, และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 8(2), 91-104.

ชิดชนก อนันตมงคลกุล และกัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 15(2), 1-20.

ฐิติศักดิ์ เวชกามา. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การเตรียมความพร้อมการท่องเที่ยวประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 9(1), 64-77.

ดารณี พลอยจั่น. (2559). ทุนทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าม้งกับกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิชาการนวัตกรรมเพื่อสังคม. 4, 1(7), 6-17.

ทิพย์วดี โพธิ์สิทธิพรรณ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2556). FEU Academic Review. 6(2), 43-48.

นรินทร์ สังข์รักษ์, สุภาภรณ์ พรหมฤาษี และณัฐธยาน์ ตั้งถาวรสกุล. (2560). ชุดความรู้ที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. Veridian E-journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 2043-2160.

รัตติยา พรมกัลป์, พระเทพปริยัติเมธี, และนัยนา เกิดวิชัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 21(1), 13-28.

ลัดดาวรรณ ทองใบ. (2561). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทอร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 8(2), 103-112.

วริศรา สมเกียรติกุล, กมล เรืองเดช, และบุญฤกษ์ บุญคง. (2562). แนวทางการจัดทำโปรแกรมประยุกต์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(1), 144-155.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2554). โครงการต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism Model). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

เสริมศักดิ์ ขุนพล และฟารีดา เจะเอาะ. (2562). การส่งเสริมทรัพยากรวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่านสื่อภาพยนต์โฆษณาของชุมชนระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการนวัตกรรมเพื่อสังคม. 7(2), 231-243.

อุทยานธรณีสตูล. (2550). อุทยานธรณีสตูล. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2563, จาก http://www.satun-geopark.com.

Chen, X., Chua, A.Y.K. and Deng, S. (2018). Comparing the Web and Mobile Platforms of a Social Q&A Service from the User’s Perspective. Aslib Journal of Information Management, 70(2), 176-191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-29