อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงเพศชายในเพลงลูกทุ่ง : การวิเคราะห์แวดวงความหมายต้นทางและปลายทาง

ผู้แต่ง

  • กมลลฎา นาคแทน สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์, เพศชาย, แวดวงความหมายต้นทาง, แวดวงความหมายปลายทาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงเพศชายและศึกษามโนทัศน์ จากการใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงเพศชายที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งโดยใช้ทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน (Cognitive Linguistics) เป็นแนวทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าเพลงลูกทุ่งเป็นแหล่งข้อมูลชุดหนึ่งที่มีการใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เพื่อถ่ายโยงความหมายเกี่ยวกับชายไทยในสังคมชนบท โดยใช้รูปภาษา เพื่อแสดงอุปลักษณ์ทั้งสิ้น 7 ประเภท ได้แก่ อุปลักษณ์มนุษย์  อุปลักษณ์พืช อุปลักษณ์สัตว์ อุปลักษณ์วัตถุสิ่งของ อุปลักษณ์สถานที่ และอุปลักษณ์ความเชื่อ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ภาษาเป็นภาพสะท้อนความนึกคิด (Cognition) และระบบคิดของมนุษย์ ผลการวิจัยพบว่าการกล่าวเปรียบเทียบมนุษย์เพศชายโดยใช้รูปภาษาเชิงอุปลักษณ์ สิ่งที่นำมาเปรียบ (แวดวงความหมายต้นทาง) มักเป็นธรรมชาติแวดล้อม สถานที่ หรือสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต อาจกล่าวได้ว่า มุมมองเชิงประสบการณ์ (Experiential View) หรือประสบการณ์การมองโลกของผู้คนมีส่วนสำคัญต่อการสร้างภาษา ภาษาสะท้อนความคิด ในขณะเดียวกันความคิดก็สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการสร้างภาษา      ทั้งสองสิ่งจึงมีความเกี่ยวพันและหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนไม่สามารถแยกขาดจากกันได้  

 

References

ก้อง กำจาย. (2524). สะดุดตา. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสท จำกัด : กรุงเทพฯ.

กิ่งแก้ว ศรีสาคร. (2524). โรงแรมใจ. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

กิ่งแก้ว ศรีสาคร. (2524). ฝากใจไปเวียดนาม. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

กิ่งแก้ว ศรีสาคร. (2524). บ้าสมบัติ. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

กิ่งแก้ว ศรีสาคร. (2524). สายเปล. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

กุหลาบ กฐิมะสมิท. (2524). รักพ่อเสียดายพี่. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

คำรณ-ศรีสอางค์. (2524). บ้านนาลาบวช. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอก คาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

คำรณ สัมบุณณานนท์. (2524). ตามน้องกลับนา. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

ชัยชนะ บุญนะโชติ. (2524). ลืมนา. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

ชัยชนะ บุญนะโชติ. (2524). ขวัญอ่อน. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

ชัยชนะ บุญนะโชติ. (2524). พี่จนก็จริง. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

ชาย เมืองสิงห์. (2524). น้องรักนักร้อง. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

ชื่นใจ เตือนจิตร. (2524). แต๊ะอั๋ง. เพลงในอัลบั้มแม่ไม้เพลงไทยบริษัทแม่ไม้เพลงไทยบางกอกคาสเสทจำกัด : กรุงเทพฯ.

ภิญโญ จิตต์ธรรม. (2516). คติชาวบ้านอันดับ 1 เพลงชาวบ้าน. สงขลา : โรงพิมพ์สงขลา.

มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์. (2548). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับผุ้หญิงในบทเพลงลูกทุ่งไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตสถาน. (2555). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2553). อุดมการณ์ความเป็นชายในวาทกรรมโฆษณาสินค้าและบริการสำหรับผู้ชายในนิตยสารผู้ชาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ungerer & Schmid. (1996). An Introduction to Cognitive Linguistics. London : Longman.

Lakoff & Johnson. (1987). Women, Fire, and Dangerous Thing : what categories reveal about the mind. Chicago and London : The University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-22