ภูมินามวัดในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ : ลักษณะภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อ

ผู้แต่ง

  • ชนิกา พรหมมาศ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ภูมินาม, วัด, ลักษณะภาษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อวัดในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลรายชื่อวัดในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากหนังสือ ต้นเจ้าพระยา “วัดวานุกรม” ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 90 วัด (ข้อมูลเมื่อปีพุทธศักราช 2562) ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาโครงสร้างทางภาษาที่ปรากฏจะทำให้สามารถวิเคราะห์ที่มาของภาษาที่ใช้ ในการตั้งชื่อได้อย่างชัดเจน โดยที่มาของภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อวัดจะปรากฏรูปแบบของที่มาภาษา 8 ลักษณะ ได้แก่ ชื่อวัดที่มาจากภาษาไทย, ชื่อวัดที่มาจากภาษาไทย+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาเขมร+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาสันสกฤต+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาบาลี+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาบาลี และชื่อวัดที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต นอกจากนี้ ยังพบว่าที่มาของภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อวัดปรากฏที่มาของชื่อวัด 9 ที่มา ได้แก่ ได้แก่ การตั้งชื่อตามชื่อบ้านนามเมือง, การตั้งชื่อตามประวัติความเป็นมาหรือตำนานของวัด, การตั้งชื่อตามความหมายที่เป็นมงคล, การตั้งชื่อตามลักษณะภูมิศาสตร์, การตั้งชื่อตามนามผู้สร้าง ผู้อุทิศ ผู้บูรณะ หรือผู้ดำเนินการ, การตั้งชื่อตามสิ่งสำคัญภายในวัด, การตั้งชื่อตามที่ได้รับพระราชทานนามจากพระมหากษัตริย์, การตั้งชื่อตามความเชื่อและประเพณีพิธีกรรม และไม่ปรากฏที่มา

References

กันยา จันทรวรชาติ. (ม.ป.ป.). ภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดนครสวรรค์ : กรณีศึกษาอำเภอไพศาลี. นครสวรรค์ : ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.

นฤมล ตุงคะโหตร. (2547). การตั้งชื่อวัดในพุทธศาสนาในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประจักษ์ สายแสง. (2547). แนวคิดในการตั้งชื่อวัด: การศึกษาเปรียบเทียบชื่อวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กับเขตอำเภอเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1(1), 1-18.

พระครูธรรมธรนิเทศ อภิญาโณ และพระครูสุนทรเจติยาภิวัฒน์. (2559). บทบาทของวัดในการเสริมสร้างให้เกิดสันติสุขในชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 4(ฉบับพิเศษ), 87.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วัลยา ช้างขวัญยืน, วิรุฬรัตน์ ไฉนงุ้น และกาญจนา นาคสกุล. (2553). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2 : คำ การสร้างคำและการยืมคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สถาบันภาษาไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

วิเชียร อชิโนบุญวัฒน์. (2543). ภูมินามจังหวัดนครสวรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครสวรรค์ : สวรรค์วิถีการพิมพ์.

วิระวัลย์ ดีเลิศ สุธาสินี วิยาภรณ์ และชรินทร์ แพทย์ปรีดา. (2564). ภูมินามวัดอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 10(1) 43-54.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2504). มูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (2562). ต้นเจ้าพระยา “วัดวานุกรม”. นครสวรรค์ : วิสุทธิ์การพิมพ์.

สุทธินันท์ ศรีอ่อน. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสอนภาษาต่างประเทศในภาษาไทย (1411356). อุบลราชธานี : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2563). ระบบคำภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์ และอัญชลี สิงห์น้อย. (2548). ภูมินามของหมู่บ้านในเขตภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดนครสวรรค์ (รายงานวิจัย). พิษณุโลก : สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อภิชาญ ปานเจริญ. (2561). บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิชาญ ปานเจริญ). (2561). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรรถวิทย์ รอดเจริญ.(2558). ที่มาของชื่อวัดในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 17(1), 44-55.

อัญชลิน ปานทอง. (2560). การตั้งชื่อคลองในพื้นที่ฝั่งธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2557). คำเรียกชื่อแบบพื้นบ้านไทยการศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-22