“ดาลอ ปอเนาะจารีต” พื้นที่ผลิตซ้ำอัตลักษณ์มลายูมุสลิมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้ความขัดแย้งกับนโยบายการศึกษาชาติปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • sutip-poolsawat
  • พรพันธุ์ เขมคุณาศัย
  • tanapat_temrattanakul

คำสำคัญ:

ปอเนาะดาลอ, พื้นที่ผลิตซ้ำ, อัตลักษณ์มลายูมุสลิม

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย  1) ศึกษาการให้ความหมายพื้นที่และความต้องการใช้พื้นที่ปอเนาะของโต๊ะครูเจ้าของปอเนาะดาลอ ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีและ 2) ศึกษาความขัดแย้งปอเนาะดาลอภายใต้นโยบายการจัดการศึกษาชาติปัจจุบัน โดยใช้แนวคิดเรื่องพื้นที่ และแนวคิดอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ผลการศึกษา 1) ความหมายพื้นที่และความต้องการใช้พื้นที่พบว่า ปอเนาะดาลอ ก่อตั้ง พ.ศ.2476 เป็นสถาบันการศึกษาศาสนาของมุสลิมเชื้อสายมลายูสืบทอดรูปจากอดีตมาก่อนที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐไทย พื้นที่ปอเนาะดาลอมีลักษณะตามจารีตศาสนา สอนแต่วิชาศาสนาอิสลามด้วยภาษามลายู โต๊ะครูเจ้าของปอเนาะดาลอจึงได้ให้ความหมายว่าเป็นพื้นที่สำหรับผลิตซ้ำความรู้และขัดเกลาทางด้านศาสนาอิสลามและต้องการใช้ปอเนาะเป็นสถาบันการศึกษาศาสนาอิสลามตามจารีต 2) ความขัดแย้งปอเนาะภายใต้นโยบายการจัดการศึกษาชาติ พบว่า รัฐได้เข้าควบคุมปอเนาะผ่านนโยบายปฏิรูปการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ให้เปลี่ยนรูปเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม นำเอาวิชาสามัญและภาษาไทยเข้าไปสอนเพื่อสร้างสำนึกและอัตลักษณ์ไทยให้กับชาวมลายูมุสลิมเพราะหวั่นเกรงว่าปอเนาะจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ต่อมาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.  2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ระบุว่า การจัดการศึกษาให้ยึดหลักสังคมมีส่วนร่วม และให้มีเอกภาพด้านนโยบายที่หลากหลาย ทว่าปัจจุบันแนวปฏิบัติรัฐยังคงมีความพยายามให้ปอเนาะทั้งหลายเปลี่ยนรูปแบบตามความต้องการของรัฐ อย่างไรก็ตามปอเนาะดาลอยังคงรักษาพื้นที่ปอเนาะไว้เหมือนเดิมเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ปอเนาะตามเป้าหมายการศึกษาอิสลาม เป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการเป็นนักการศาสนา หรือนำไปใช้ปฏิบัติอย่างถูกต้องสมบูรณ์

 

References

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2519). ไทยมุสลิม. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2551). ความรุนแรงกับการจัดการความจริง : ปัตตานีในรอบกึ่งศตวรรษ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประสิทธิ์ เวชสวรรค์, พันเอก. (2509). การพัฒนาการศึกษาเพื่อบูรณภาพของจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). ชาติพันธุ์สัมพันธ์แนวคิดพื้นฐานทางมานุษยวิทยาในการศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ ประชาชาติ และการจัดองค์กรความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์, จาก http://www.bic.moe.go.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข ปี 2548 – 2551. กรุงเทพ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ระวิวรรณ ชอุ่มพฤกษ์. (2540). “การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของบ้านทิวสนระหว่างปี 1950-1999,” รูสะมิแล. 18 (1-2) : 10-32 ; มกราคม-สิงหาคม 2540. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี.

วรวิทย์ บารูและคณะ. (2521). รายงานการวิจัยเรื่องมลายูปาตานี : ชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ และการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม, จาก https://kb.psu.ac.th.

อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต. (2548). “ปอเนาะกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้,” ความรู้กับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง กรณีวิกฤติการณ์ชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

Barth,F. (1969). Ethnic Groups and Boundaries: The Social Organization of Cultural Difference. Bergen: Universitetsforlag and Boston: Little Brown & Co Benedict, R. (1934). Patterns of Culture. Boston, New York : HoFraser.

Thomas M. (1960). Rusembilan : A Malay Fishing Village in Southern Thailand. New York : Cornell University Press.

Harrell, Steven. (1995). “Civilizing Projects and Reaction to Them,” in Cultural Encounterson China’s Ethnic Frontiers,” Edited by Steven Harrell. p. 25 - 39. Seattle: University of Washington Press.

Lefebrve, Henri. (1991). The Production of Space. Malden, Massachusettes: Blackwell Publishers. (Translated by Donald Nicholson-Smith) Michel Hechter.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29