อัตลักษณ์ความเป็นเกาหลีในมิติอาหารการกินของร้านอาหารเกาหลี จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • จิตติกานต์ หลักอาริยะ
  • พรพันธุ์ เขมคุณาศัย สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ทักษิณ
  • อนินทร์ พุฒิโชติ
  • พรไทย ศิริสาธิตกิจ

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, การประกอบสร้างอัตลักษณ์, อาหารการกิน, ประเทศเกาหลี, ร้านอาหารเกาหลี

บทคัดย่อ

งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นเกาหลีผ่านอาหารและร้านอาหารเกาหลี จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกรอบแนวคิดในการศึกษาได้แก่ แนวคิดอัตลักษณ์ แนวคิดวัฒนธรรมอาหาร และแนวคิดวัฒนธรรมบริโภคนิยม ผู้วิจัยเลือกศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นเกาหลีผ่านร้านอาหารเกาหลีในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 10 ร้าน ซึ่งเป็นแหล่งให้ข้อมูลหลักและดำเนินการวิจัยโดยการเข้าสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ เอกสาร บทความ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ประเทศเกาหลีใต้มีกระบวนการประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นเกาหลีจากการสร้างนโยบายทางด้านวัฒนธรรมโดยเน้นอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เพื่อถ่ายทอดความเป็นเกาหลีผ่านสื่อบันเทิง และขายวัฒนธรรมการกินในแบบธุรกิจร้านอาหารเกาหลีผ่านองค์ประกอบ ต่าง ๆ ของร้าน อันได้แก่ การตกแต่งร้าน เมนูอาหาร วัตถุดิบ เครื่องปรุง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการรับประทานอาหาร และยังพบว่าผู้บริโภคของร้านอาหารเกาหลี จังหวัดสงขลา มีการบริโภคในลักษณะของการบริโภคสินค้าเชิงสัญญะที่มีความหมายมากกว่าการใช้สอยประโยชน์ในเบื้องต้น แต่มีการบริโภคอาหารเกาหลีในฐานะของสัญญะที่เกี่ยวกับความเป็นเกาหลีอย่างเช่น ความมีสุขภาพที่ดี ความอร่อย และความทันสมัย เพื่อนำมาประกอบสร้างตัวตนว่าเป็นผู้นิยมชมชอบความเป็นเกาหลี

References

จักรพรรณ วงศ์พรพวัน. (2557). จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ, วารสารธรรมทรรศน์. 5(1), 77-95.

จารุวรรณ เจตเกษกิจ. (2556). จับตามองยุทธวิธีอาหารเกาหลีเจาะตลาดโลก, วารสารอุตสาหกรรมสาร. 1, 36-38.

จิต ผลิญ. (2555). เกาหลีใต้ผู้นำอุตสาหกรรมวัฒนธรรมยุคใหม่, วารสารอุตสาหกรรมสาร. 54(พ.ย.-ธ.ค.), 25-26.

ชงคุมา กมลเวชช. (2551). รูปแบบธุรกิจเชิงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก https://ditp.go.th/contents_attach/78631/78631.pdf.

ชนิพรรณ บุตรยี่. (2549). อาหารเกาหลี: กระแสล่ามาแรง, วารสารหมอชาวบ้าน. 27(324), 29-31.

เทศบาลนครสงขลา. (2562). สินค้าและอาหารพื้นเมือง. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562, จาก https://www.songkhlacity.go.th.

ไพบูลย์ ปีตะเสน. (2563). ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลี, ใน นภดล ชาติประเสริฐ (บรรณาธิการ), เกาหลีปัจจุบัน: สังคมและวัฒนธรรมเกาหลี, 55 - 117. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วุฒินันท์ สุนทรขจิต. (2551). ร้านอาหารญี่ปุ่นสมัยใหม่: พื้นที่การสื่อสารความหมาย อัตลักษณ์และความเป็นญี่ปุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีรญา กังวานเจิดสุข.(2563). วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชาวเกาหลี, ใน นภดล ชาติประเสริฐ (บรรณาธิการ), เกาหลีปัจจุบัน: สังคมและวัฒนธรรมเกาหลี, 205 - 228. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรินธร รัตน์เจริญขจร. (2546). ร้านกาแฟ: ความหมายในวัฒนธรรมไทยยุคบริโภคนิยม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรีย์พร นิพิฐวิทยา. (2549). เหลียวหลังแลหน้ากับการพัฒนาเกาหลีใต้, วารสารสังคมศาสตร์มศว. 2549 (ม.ค.-ธ.ค.), 33-41.

อัญชลา โภชนสมบรูณ์. (2556). การศึกษาร้านอาหารเกาหลีในกรุงเทพฯ จากมุมมองมานุษยวิทยา, ใน สิทธินี ธรรมชัย (บรรณาธิการ), แสงแห่งพลวัตเกาหลี, 15-30. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Kim, B. and Vasileva, K. (2017). Popular Culture as an Important Element in Creating a National Image of Korea. Advanced Science Letters. 23(10), 9866-9869.

Yim, H. (2002). Cultural Identity and Cultural Policy in South Korea. The International Journal of Cultural Policy. 8(1), 37-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20