การเตรียมความพร้อมสร้างฐานข้อมูลตำแหน่งผู้สูงอายุ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ทนงศักดิ์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ผู้สูงอายุ, การลดความเสี่ยงการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างฐานข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งบ้านเรือนผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงของผู้สูงอายุในการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา มีการคัดเลือกแบบเจาะจง ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้สูงอายุทั้งสิ้น 698 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ประกอบไปด้วยผู้สูงอายุที่มีและไม่มีข้อมูลโรคประจำตัว 219 และ 479 คน ในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานรับมือการระบาดของโรค โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะเตรียมการ ระยะการทำวิจัย ระยะการจัดทำแผน ระยะการนำแผนไปปฏิบัติ และระยะติดตามประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า ตำแหน่งที่ตั้งและฐานข้อมูลผู้สูงอายุทั้งที่มีและไม่มีโรคประจำตัวทุกหลังคาเรือน หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนรับมือและป้องกันการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านเรือนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีบทบาทสำคัญมากในการดำเนินงานช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งทำงานร่วมกับสถานพยาบาลทั้งสองแห่งในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนตำบลพะตง รวมถึงข้อมูลลักษณะภูมิประเทศอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นภาพและรายละเอียดของข้อมูลโดยแผนที่สารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ง่ายต่อการสืบค้น ส่งผลให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุและการวางแผนในการรับมือและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของกลุ่มผู้สูงอายุโดยภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจากการใช้แผนที่และฐานข้อมูลดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในระดับพื้นที่และการขอความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับสูง

 

 

References

8 กลุ่มเสี่ยงที่อาจมีอาการรุนแรงหากติดโควิด-19. (2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.vejthani.com/th/2021/01/8%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9419/.

กรมควบคุมโรค. (2563). สู้! โควิด-19 ไปด้วยกัน; คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/img/infographic/info_m_280463.pdf เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2563.

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โควิดในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=main เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2559). การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ดูแลผู้สูงวัย ช่วงโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563, จาก http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=728).

เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, สุพัตรา ศรีวนิชชากร, จุฑาธิป ศีลบุตร และกวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์. (2560). การจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบภาวะยากลำบากโดยองค์กรสาธารณสุข, วารสารการบริหารท้องถิ่น. 159-181.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. บทความวิชาการสำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ชื่นตา วิชชาวุธ, นภาพร ชโยวรรณ, ยุพา วงศ์ไชย, ประคอง อินทรสมบัติ และนันทศักดิ์ ธรรมานวัตร. (2553). การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2545-2550. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). กรุงเทพมหานคร.

ณัฏฐา เวชการ. (2559). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พัชรินทร์ เสริมการดี, จักรกฤษ หมั่นวิชา และรัตนา คุณชู. (2559). การวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7, 1355-1365. 23 มิถุนายน 2559 สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พุทธจักร ช่วยราย และอาจินต์ สงทับ (2562). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในงานสาธารณสุข, วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้. 6(10), 229-236.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปีพ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลพะตง. (2563). มาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน. หนังสือทางราชการของกระทรวงมหาดไทยด่วนที่สุด มท 02113.3/ว1538 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2563.

ศศิพัฒน์ ยอดพชร, เล็ก สมบัติ, ปรียานุช โชคธนวณิชย์, และ ธนิกานต์ ศักดาพร. (2552). ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนในชนบทไทย, วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 10(3), 13-24.

สมบัติ อยู่เมือง. (2558). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563, จาก http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html.

สรญา แก้วพิทูลย์ และณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงสำหรับป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ในจังหวัดสุรินทร์ โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สรวงสุดา คงมั่ง. (2553). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา, วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9, 76-89.

สรวิศ วิฑูรย์ทัศน์, Reyes Marqueza Cathalina and Sarsycki Matthew. (2559). คู่มือการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติ. สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร.

สัญญา ยือราน และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระบบสุขภาพ, วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 5(2), 288-300.

สายฤดี วรกิจโภคาทร, ประภาพรรณ จูเจริญ, กมลพรรณ พันพึ่ง, สาวิตรี ทยานศิลป์, และ ดวงใจ บรรทัพ. (2550). สวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ, ใน ปรับแนวคิดร่วมชีวิตผู้สูงวัย : การทบทวนแนวคิดและองค์ความรู้เบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ, เครือข่ายนักวิจัย MERIT จาก 5 สถาบันในมหาวิทยาลัยมหิดล, 8-21. กรุงเทพฯ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). สู้! โควิด-19 ไปด้วยกัน; คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/img/infographic/info_m_280463.pdf.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2563). 5 แนวคิดใช้แผนที่รับมือโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563, จาก http://www.gistda.or.th/main/th/node/3755.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2564). สถานการณ์โควิดในสงขลา. สืบค้นจาก https://www.skho.moph.go.th/eoc/?p=5738 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564.

สุเพชร จิรขจรกุล, ณัฐพล จันทร์แก้ว, สุนันต์ อ่วมกระทุ่ม และพีระวัฒน์ แกล้ววิการณ์. (2554). ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อส่งเสริมโครงการเมืองน่าอยู่ในด้านสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 19(2), 64-74.

อรยา ปรีชาพานิช และสุดา เธียรมนตรี. (2558). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสงขลา, วารสารมหาวิยาลัยทักษิณ. 18(3), 161-169.

Altayb H. N., Altayeb N. M. E., Hamadalnil Y., Elsayid M. and Mahmoud N. E. (2020). The current situation of COVID-19 in Sudan, New Microbe and New Infect. 37, 1-6.

Asian Development Bank. (2008). The Sustainable Livelihoods Approach. Manila, Philipines. Daoust J. and Daoust F. (2020). Elderly people and responses to COVID-19 in 27 Countries, PLOS ONE. 15(7), 1-13.

Department of International Development. (1999). Sustainable livelihoods: Lessons from early experience. Russell Press Ltd., Nottingham.

Liu Kai, Chen Ying, Lin Ruzheng and Han Kunyuan. (2020). Clinical features of COVID-19 in early patients: A comparison with young and middle-aged patients, Journal of infection. 80(6), e14-e18.

Panthee B., Dhungana S., Panthee N., Paudel A., Gyawali S. and Panthee S. (2020). COVID-19: the current situation in Nepal, New Microbe and New Infect. 37, 1-5.

Tantrakarnapa Kraichat and Bhopdhornangkul Bhophkrit. (2020). Challenging the spread of COVID-19 in Thailand, One Health. 11 (100173), 1-10.


Unicef. (2020). Key Messages and Actions for COVID-19 Prevention and Control in Schools. สืบค้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2563, จากhttps://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/key-messages-and-actions-for-COVID-19-prevention-and-control-in-schools-march-2020.pdf?sfvrsn=baf81d52_4.

World Health Organization; WHO (2020). WHO Corona Virus Disease (COVID-19) Dashboard. สืบค้น เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564, จาก https://covid19.who.int.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20