จาก SKY Castle สู่ Parasite: ค่านิยม และวัฒนธรรมทางการศึกษาที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์ - ละครซีรี่ส์เกาหลีใต้

ผู้แต่ง

  • เกษรา ศรีนาคา หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก

คำสำคัญ:

ค่านิยม, วัฒนธรรมทางการศึกษา, เกาหลีใต้, SKY Castle

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ค่านิยมและวัฒนธรรม การศึกษาของเกาหลีใต้บนบริบททางประวัติศาสตร์ โดยพิจารณาผ่านภาพยนตร์ - ละครซีรี่ส์เกาหลีใต้สองเรื่องที่มีกระแสโด่งดังทั้งในและต่างประเทศ พบว่า “SKY Castle” สะท้อนถึงผลกระทบเชิงลบของระบบการศึกษาของเกาหลีใต้ ขณะที่ “Parasite” สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและการแข่งขันที่รุนแรง ระหว่างชนชั้นทางสังคมจนส่งผลกระทบสืบเนื่องที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่อ ระบบวัฒนธรรมการศึกษา ปัญหาที่สะท้อนผ่านทั้งสองเรื่องนี้ สืบเนื่องมาจาก รากฐานความคิดของลัทธิขงจื๊อที่ฝังแน่นอยู่ในสังคมและโครงการการพัฒนาประเทศ อันยิ่งใหญ่หลังสงครามเกาหลีผ่านนโยบายการศึกษาที่เห็นว่า “การศึกษาการเป็น หัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ” รัฐบาลดำเนินนโยบายการศึกษาควบคู่ไปกับ การสร้างกำลังคนให้เป็นกำลังสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติ แม้ว่าเศรษฐกิจ ของประเทศจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผลที่ตามมา คือ การแข่งขันของผู้คน ในสังคมตั้งแต่ระดับการศึกษาของเด็กสู่การแข่งขันในวัยผู้ใหญ่ การแข่งขันเพื่อ เข้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำชั้นนำอย่าง SKY (มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (S), มหาวิทยาลัยเกาหลี (K), และมหาวิทยาลัยยอนเซ (Y)) หรือการแข่งขันการเข้าทำงาน เพื่อเลื่อนชนชั้นไปสู่สังคมชั้นนำ จากค่านิยมและวัฒนธรรมการศึกษาของเกาหลีใต้ได้นำไปสู่ปัญหาทางสังคมโดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่เห็น จนถึงปัจจุบัน

References

ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส. (2560). Reach for the SKY เกิดเป็นวัยรุ่น (เกาหลี) มันเจ็บปวดอย่างนี้นี่เอง!. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://thestandard.co/reachforthesky/.

แดเนียล ทิวดอร์. (2560). มหัศจรรย์เกาหลี: จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทาง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม. (ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ, แปล). กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

นภดล ชาติประเสริฐ. (2560). เกาหลีปัจจุบัน Korea Today. ปทุมธานี : ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุ่งรวิน แสงสิงห์. (2562). SKY CASTLE: จากเด็กผู้เอื้อมมือแตะแผ่นฟ้า สู่เบื้องหลัง ‘ออมม่า’ ผู้ไม่แพ้. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://thepotential. org/2019/04/09/sky-castle-mother/.

Choi, H. & Choi, A. (2016). Regulating private tutoring consumption in Korea : lessons from another failure. International Journal of Educational Development. Volume 49: 144-156. Retrieved March 2, 2020, from https://www.sciencedirect.com/journal/international-journal-of-educational-development/vol/49/suppl/C.

Lim, H.C. & Jang, J.H. (2006). Neo-liberalism in post-crisis South Korea : Social conditions and outcomes. Journal of Contemporary Asia, 36 : 4, 442- 463, Retrieved March 5, 2020, from https://www.researchgate. net/publication/233198040_Neo-Liberalism_in_Post Crisis_South_ Korea_Social_Conditions_and_Outcomes.

Balhorn, M. (2019). Parasite a Window into South Korean Neoliberalism. Retrieved March 2, 2020, from https://www.jacobinmag.com/2019/11/parasite-a-window-into-south-korean-neoliberalism?fbclid=IwAR1iolc MjwefFIBJoWIt5wD6XZdKLDqqNStoRlLdbcJurdUK0JKv64mGKks. 50 ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2564.

Steger, M.B. & Rov, R. (2559). เสรีนิยมใหม่: ความรู้ฉบับพกพา (Neoliberalism: A Very Short Introduction). (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, แปล). กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส.

The Bag Seller. (2562). รีวิวซีรีส์: SKY Castle (2019) การแข่งขันของสังคมชั้นสูง ที่มีชีวิต ‘ลูก’ เป็นเดิมพัน. ค้นหาเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.korseries.com/korseries-sky-castle-2019/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20