รูปแบบการจัดการตลาดนัดชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • ศดานนท์ วัตตธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

การจัดการ, ตลาดนัดชุมชน, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวในการจัดตั้งตลาดนัดชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการจัดการตลาดนัดชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว (3) เพื่อประเมินศักยภาพชุมชนในการจัดตั้งตลาดนัดชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว และ (4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการตลาดนัดชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว โดยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่การวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลได้แก่นักท่องเที่ยว ประชาชนในพื้นที่ และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย แบบสอบถามใช้สถิติพรรณนาในรูปแบบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสัมภาษณ์และการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า (1) ความต้องการของนักท่องเที่ยว พบว่ามีปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านช่องทางในการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก (= 4.23, SD = 0.57) (2) องค์ประกอบในการจัดการตลาดนัดชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ องค์ประกอบด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการนำและบทบาทของผู้นำ และด้านการควบคุม ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก (= 4.31, SD= 0.59) (3) ศักยภาพชุมชนในการจัดตั้งตลาดนัดชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว พบว่าชุมชนมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ทำเลที่ตั้งชุมชนอยู่ใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสตูล ประชาชนในพื้นที่มีความต้องการในการพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวชุมชน และจังหวัดสตูลมีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ (4) รูปแบบการจัดการตลาดนัดชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การวางแผนการดำเนินงาน การจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนการประเมินการดำเนินงานที่สร้างการเรียนรู้ในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2561, จาก
https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=497

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2549). แนวทางการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ขนิษฐา บรมสำลี และรัฐพล สันสน. (2560). รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำแบบยั่งยืน, วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 1 - 22.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : เพรสแอนด์ ดีไซน์.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยว
เพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

เมธี ปิยะคุณ. (2547). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีที่สุด. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก http://www.stou.ac.th/thai/offices/ocel/knowledge/3-46/page19-3-46.html

รชพร จันทร์สว่าง. (2546). เอกสารชุดฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ และศดานนท์ วัตตธรรม. (2563). รูปแบบการจัดการตลาดนัดชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วลัยพร ริ้วตระกูลไพบูลย์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานจังหวัดสตูล. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดสตูล 4 ปี (พ.ศ. 2561 - 2564) ฉบับทบทวน. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561, จาก http://www2.satun.go.th/files/com_news_devpro/2019-05_28f680470d8673b.pdf.

สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน: ฐานคิดจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ใน การท่องเที่ยวโดยชุมชน แนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุประภา สมนักพงษ์. (2560). แนวโน้มและตลาดการท่องเที่ยว 4.0 ประเทศไทย, วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(3), 2055 - 2068.

องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล. (2557). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา. สืบค้น เมื่อ 2 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.khaokhaw.go.th/html/new-menu-1-view.asp?action=2&id=56.

อัจฉรา ชีวตระกูลกิจ. (2542). การจัดการสำหรับวิศวกร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Creswell, J. W. (2014). Research design : qualitative, quantitative, and mixed methods approaches (4th ed.). Thousand Oaks. California : Sage.

Fennell, D. A. (1999). Ethical tourism. Canada : Brock University.

Schmoll, G. A. (1977). Tourism promotion. London : Tourism International.

Yamane, T. (1973). Statistics : an introductory analysis (3rd ed.). New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27