รูปแบบห่วงโซ่การย้ายถิ่นของแรงงานนักเรียนไทยในออสเตรเลีย
คำสำคัญ:
ห่วงโซ่การย้ายถิ่น, ไทย-ออส, แรงงานไทยในต่างประเทศ, ประเทศไทยบทคัดย่อ
การย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศของแรงงานไทย นับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมายาวนานมากกกว่าสามทศวรรษ และยังคงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมถึงยังเกิดนวัตกรรมการย้ายถิ่นแอบแฝงในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงกรณีการย้ายถิ่นไปทำงานของนักเรียนไทยในประเทศออสเตรเลีย จนเป็นที่มาของคำว่า แรงงานไทย-ออส โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบห่วงโซ่การย้ายถิ่นของแรงงานนักเรียนไทยดังกล่าว ดำเนินงานวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีหน่วยวิเคราะห์เป็นระดับปัจเจกบุคคล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ แรงงานนักเรียนไทยในออสเตรเลีย ที่ทำงานในนครซิดนีย์ จำนวน 18 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีบอกต่อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ร่วมกับการสังเกตในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผู้วิจัยพบว่ารูปแบบห่วงโซ่การย้ายถิ่นของแรงงานนักเรียนไทยเพื่อการทำงานในประเทศออสเตรเลีย มีลักษณะเป็นเครือข่ายเชิงซ้อน แต่มีรูปแบบร่วมกัน คือ เป็นการย้ายถิ่นผ่านบริษัทให้คำปรึกษาด้านการศึกษา การหาที่เรียน และเป็นเอเย่นต์อิสระ โดยเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายเพื่อนฝูงเป็นส่วนใหญ่
References
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2560). “หมุดยึดเด็กไกลบ้าน: บทบาทของเครือข่ายทางสังคมที่มีต่อการดำรงชีพของแรงงานนักเรียนไทยในออสเตรเลีย”, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 9(2) : กรกฎาคม – ธันวาคม 2560 : หน้า 260-282.
สุทธิพร บุญมาก. (2554). บทบาทของเครือข่ายการย้ายถิ่นของแรงงานคนไทยเชื้อสายมลายูในร้านต้มยำประเทศ มาเลเชีย. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 8(3), มกราคม – เมษายน 2554 : หน้า 24-40.
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ. (2563). สถิติข้อมูลแรงงานไทยไปต่างประเทศ. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.overseas.doe.go.th/Ayuwat, D. and Chamaratana, T. (2013). The Role of Labour Broker Networks in Setting the Price of Working Abroad for Thai Migrant Workers, Asia-Pacific Population Journal. 28(2), December 2013 : 51-68.
Boissevain, J. (1974). Friends of Friends: Network, Manipulators and Coalitions. Oxford: Basil Blackwell.
Chamaratana, T., Ayuwat, D., Knippenberg, L., and De Jong, E. (2010). Connecting the Disconnected: Background, practices and motives of labour brokers in Isan, Thailand - an explorative study. The International Journal of Interdisciplinary Social Sciences, 5(5), November, 359 - 372.
Chamaratana, T. and Sangseema, T. (2018). “Moving on the Chain: Push-Pull Factors Affecting the Migration of Laotian Workers to Udon Thani, Thailand”, European Journal of Social Sciences Education and Research. Volume 5, Issue 2, May - August 2018, pp. 109-115. DOI: http://dx.doi.org/10.26417/ejser.v5i2.
Curran, S.R. and Rivero-Fuentes, E. (2003). Engendering Migrant Networks: the Case of Mexican Migration. Demography, 40(2), 289-307.
De Jong, E. (2008). Living with the death: The Economics of Culture in the Torajan Highlands, Indonesia. Nijmegen: CIDIN.
Kilduff, M. and Tsai, W. (2003). Social Networks and Organizations. London: SAGE.
Meenakshisundarum, K. S. (2013). Study of Agriculture Labourers Migration Social Network and the Migration Behaviour. New Delhi: Indian Journal of Commerce and Management Study.
Ritzer, G. (1992). Contemporary Sociological Theory. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.
Shah, N.M. and Menon, I. (1999). Chain Migration Through the Social Network: Experience of Labour Migrants in Kuwait. International Migration, 37(2), 361–382.
Wasserman, S. and Faust, K. (1999). Social Network Analysis: Methods and Applications. 4th ed. New York: Cambridge University Press.