ปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษา : ชุมชนตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรจิรา สิทธิศักดิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร
  • อาจารย์ ดร.วราภรณ์ ทนงศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ศักยภาพเชิงพื้นที่, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย แกนนำ ผู้นำชุมชน และผู้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 25 คน ภายหลังการออกแบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ฯ แล้วเสร็จ ผู้วิจัยได้ศึกษาปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ฯโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย  ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ฯ มีทั้งปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี และงบประมาณ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับบุคลากรขององค์กร/กลุ่มในชุมชน ส่วนปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ ประสบการณ์ในการจัดการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม พบว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ฯ มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งด้านเทคโนโลยี งบประมาณ และองค์ความรู้ ปัจจัยภายใน ได้แก่ การขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานองค์กร/กลุ่มในชุมชน รวมถึงหน่วยงานท้องถิ่น ดังนั้น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่จะมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เนื่องจากแต่ละภาคส่วนมีความพร้อมและข้อจำกัดแตกต่างกัน

 

 

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). การประเมินมาตรฐานโดยสารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน พ.ศ.2562, จาก http//www.tourism.go.th.

ปฏิญาณ มณีพรรณ. (2555). การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อนำเสนอหลุมฝังกลบขยะแห่งใหม่ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2557). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(3), 63-82.

วิวัฒนชัย บุญญานุพงศ์. (2544). การมีส่วนรวมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชน กรณี : ศึกษาชุมชนมอญบ้านเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. (2542). Learning GIS. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2554). วันละนิดวิทย์เทคโน; GIS คืออะไร.สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2562, จาก https://www.nstda.or.th/th/vdo-nstda/sci-day-techno/4046.

Hyun, L.S.,Yong, C.J.,Hwan, Y.S.,&Gyeong, O.Y. (2013). Evaluating spatial centrality for integrated tourism management in rural areas using GIS and network analysis, Tourism Management. 34, 14-24.

Mamun,A. A., & Mitra, S. (2012). A Methodology for assessing tourism potential: Case study Murshidabad District, West Bengal, India, International Journal of Scientific and Research Publications. 2(9), 1-8.

Ruda, Ale. (2016). Exploring tourism possibilities using GIS-based Spatial Association methods, Geographia Technica. 11(2), 87-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-18