กลยุทธ์การสื่อสารและผลกระทบของผู้ทรงอิทธิพลทางด้านความคิดเกี่ยวกับสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • วทิตา หิรัญบูรณะ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อาจารย์ ดร.อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด, สินค้าสุขภาพ, สื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อกลุ่มผู้ติดตาม และ 2) ศึกษาผลกระทบของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมและทัศนคติของกลุ่มผู้ติดตาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์สรุปอุปนัย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์จำนวน 3 คน และกลุ่มผู้ติดตามผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพจำนวน 12 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อสรุปและอภิปรายผลการวิจัยต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพมีการใช้ 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1) กลยุทธ์การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ 2) กลยุทธ์การนำเสนอเนื้อหาที่โดดเด่น 3) กลยุทธ์การใช้สื่อสังคมออนไลน์ และ 4) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายผู้ติดตามกับการมีส่วนร่วมกิจกรรม เห็นได้ว่า ผู้ทรงอิทธิพลต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสุขภาพ มีบุคลิกภาพที่ดี รูปร่างสมส่วน มีความเป็นผู้นำ มีความคิดเห็นเป็นของตนเอง มีการนำเสนอเนื้อหาที่โดดเด่น เช่น นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง รูปแบบเนื้อหาที่ทันสมัยตามกระแสนิยม ทำให้กลุ่มผู้ติดตามเกิดความเข้าใจง่าย รวมถึงการใช้สื่อสังคมออนไลน์หลายช่องทางในการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มผู้ติดตาม ในส่วนผลการศึกษาผลกระทบของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มผู้ติดตาม พบว่า กลุ่มผู้ติดตามส่วนใหญ่มีทัศนคติด้านบวก เนื่องจากผู้ติดตามมีความเชื่อมั่นและชื่นชอบในคุณสมบัติของผู้ทรงอิทธิพลทางด้านสุขภาพที่มีภาพลักษณ์ที่ดี ภาพถ่ายสวยงาม ชื่อเสียง ความเป็นตัวเอง รวมถึงการทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มผู้ติดตามต่างๆ และยังมีปัจจัยรอบข้าง เช่น การแนะนำจากเพื่อน ครอบครัว สังคม ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจต่อกลุ่มผู้ติดตามทำให้เกิดทัศนคติด้านบวก ส่วนเหตุผลที่ทำให้กลุ่มผู้ติดตามที่มีทัศนคติด้านลบและด้านนิ่งเฉยยังคงติดตามผู้ทรงอิทธิพลคือ การติดตามรีวิวข้อมูลและรูปภาพของสินค้าด้านสุขภาพ สินค้าชนิดต่าง ๆ หรือการไม่ทำตามกระแสนิยมของสังคม ซึ่งกลุ่มผู้ติดตามสองกลุ่มนี้เพียงแค่ต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ จึงไม่เชื่อว่าภาพลักษณ์ของเนื้อหาจะเป็นจริง

References

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

ชัญญาภรณ์ แสงตะโก. (2560). อิทธิพลของ Micro-Influencer ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า High Involvement ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รัฐญา มหาสมุทร. (2559). กลยุทธก์ารสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในโลกออนไลน์ที่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มผู้ติดตาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศศิมา อุดมศิลป์. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดโดยใช้ผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ในธุรกิจ อาหาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคไทย : เมื่อ “สุขภาพ” ต้องมาพร้อม “ธรรมชาติ”. (2559). สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563, จาก http : //www. marketeeronline.co/archives/66103.

เทคนิคการสืบค้นข้อมูล. (2561). สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563, จาก
https://www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html.. Economic indicators and releases. (2018). Retrieved December 8, 2020, from https://www.etda.or.th/.

เทคนิคการสืบค้นข้อมูล. (2562). สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563, จาก
https://www.marketingoops.com/media-ads/influencer-marketing-popularity/. Economic indicators and releases. (2019). Retrieved July 18, 2020, from https://www.marketingoops.com/

Schiffman, L. G. and Kanuk, L. L. (2010). Consumer behavior. New Jersey : Prentice-Hall International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-17