ลักษณะการพูดแทรกของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยในการสนทนาเรื่องสัพเพเหระแบบ 3 คน กับเพื่อนชาวญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพูดแทรก, สนทนาเรื่องสัพเพเหระ, ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย, เพื่อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการพูดแทรกของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยในการสนทนาเรื่องสัพเพเหระแบบ 3 คน กับเพื่อนชาวญี่ปุ่น ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลเสียงสนทนาเรื่องสัพเพเหระแบบ 3 คน ของกลุ่มตัวอย่างผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่เป็นเพศหญิงเหมือนกัน จำนวน 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีความยาวประมาณ 30 นาที ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยมีสัดส่วนการพูดแทรกเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 ซึ่งน้อยกว่าสัดส่วนของผู้พูดชาวญี่ปุ่นอยู่เล็กน้อย และมีแนวโน้มในการใช้การพูดแทรกเพื่อสร้างความกลมกลืนให้กับหัวข้อสนทนา เช่น พูดเสริม/เพิ่มเติมเนื้อหา ตอบคำถาม หรือแสดงอารมณ์ความรู้สึกมากที่สุด ในขณะที่ใช้การพูดแทรกเพื่อเปลี่ยนเวทีการสนทนาน้อยที่สุดซึ่งคล้ายคลึงกับผลของผู้พูดชาวญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของการพูดแทรกเพื่อเปลี่ยนเวทีการสนทนาระหว่างผู้พูดชาวญี่ปุ่นกับผู้เรียนชาวไทยคือ ผู้พูดชาวญี่ปุ่นจะใช้วิธีพัฒนาเนื้อหาต่อจากหัวข้อสนทนาในปัจจุบัน ในขณะที่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใช้การหยิบยกหัวข้อใหม่ที่นึกออกหรือเรื่องที่ต้องการพูดในขณะนั้นซึ่งมีความเชื่อมโยงกับหัวข้อในปัจจุบันน้อยขึ้นมาพูด

References

พวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์. (2559). การเปรียบเทียบโครงสร้างความรู้ (Schema) และกลยุทธ์การเลือกหัวข้อสนทนาเมื่อพบกันเป็นครั้งแรกของผู้พูดชาวไทยกับผู้พูดชาวญี่ปุ่น, วารสารอักษรศาสตร์, 45 (1), 1-46.

Clark, H. H. (1996). Using Language. Cambridge: Cambridge University Press.

Sacks, H., Schegloff, E. A. & Jefferson, G. (1974) A simplest systematics for the organization of turn-taking for conversation, Language, 50 (4), 696-735.

Tannen, D. (1984). Conversational Style: Analyzing talk among friends. Norwood, NJ:   Ablex.

池田理知子・塙幸枝編著 ; 青沼智 ・宮崎新・神戸直樹・石黒武人・鳥越千絵・師岡淳也・ 河合優子著(2019).『グローバル社会における異文化コミュニケーション―身近な 「異」から考える』東京:三修社池.

木暮律子(2002). 「日本語母語話者と日本語学習者の話題転換表現の使用について」『第 二言語としての日本語の習得研究』5,5-23.

筒井佐代(2012). 『雑談の構造分析』東京:くろしお.

西阪仰・串田秀也・熊谷智子(2008). 「特集『相互行為における言語使用:会話データを用いた研究』について」 『社会言語科学』 10(2), 13-15.

長谷川紀子(2005).「日本語学習者の割り込み発話」『千葉大学日本文化論叢』6,105-90.

藤井桂子(1995). 「発話の重なりについて一分類の試み」『言語文化と日本語教育』10, 13-23.

藤井桂子・大塚純子(1994). 「会話における発話の重なり―協力的側面を中心に―」『言 語文化と日本語教育』6, 1-13.

水谷信子(1980). 「外国語の修得とコミュニケ-ション」『言語生活』344, 28-36.

メイナード・泉子・K(2013).「あいづちの表現性」『日本語学』 32(5), 36-48.

山岡政紀(2008).『発話機能論』東京:くろしお.

劉佳珺(2012).「会話における割り込みについての分析―日本語母語話者と中国人日本語 学習者との会話の特徴―」『異文化コミュニケーション研究』 24 :1-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-08