สำรวจงานศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่มีต่อการเมือง สปป.ลาว ระหว่าง ค.ศ.1992-2016

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล อิ้งทม สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

พรรคประชาชนปฏิวัติลาว, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว), บทบาทที่มีต่อการเมือง, ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาว, การรักษาอำนาจทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการสำรวจ และทบทวนงานศึกษาที่เกี่ยวกับบทบาทของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่มีต่อการเมืองของ สปป.ลาว ระหว่าง ค.ศ.1992-2016 เพื่อค้นหาประเด็นที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้โดยอาศัยการวิเคราะห์ตัวบทของงานศึกษาเหล่านั้น อันจะเป็นพื้นฐานให้แก่การศึกษาเรื่องบทบาทของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่มีต่อการเมืองของ สปป.ลาวระหว่าง ค.ศ.1992-2016

จากการศึกษาพบว่างานศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของพรรคฯ ระหว่าง ค.ศ.1992-2016 แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม ได้แก่ 1.งานศึกษาช่วงระหว่าง ค.ศ.1992-2006 งานศึกษาในช่วงนี้มักให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างอำนาจทางการเมืองภายในพรรคฯ การปฏิรูปเศรษฐกิจภายใต้กรอบนโยบายจินตนาการใหม่และการปรับแนวคิดการสร้างชาติที่สัมพันธ์การฟื้นฟูวัฒนธรรมและ 2.งานศึกษาระหว่าง ค.ศ.2006-2016งานศึกษาในช่วงนี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนถ่ายอำนาจสู่กลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ภายในพรรคฯการรับอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจจากจีน และการสร้างแหล่งความทรงจำที่สืบเนื่องจากแนวคิดการสร้างชาติในช่วง ค.ศ.1992-2006

Author Biography

ณัฐพล อิ้งทม, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

 

References

กิตติศักดิ์ชิณแสง. (2558). การสร้างความทรงจำเกี่ยวกับวีรบุรุษของชาติลาวโดยมองผ่านท่านไกสอน พมวิหาน ค.ศ1975-2010 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2548). ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

ทองปานสมพะวง. (2542). การศึกษาพัฒนาการของระบบสื่อสารมวลชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ค.ศ.1950-1997 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาภรณ์กันทะลา. (2551). แนวคิดการสร้างชาติของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว: วิเคราะห์ผ่านหนังสือพิมพ์ เสียงปะซาซน, ค.ศ.1975-1986 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุธิดาตันเลิศ. (2541). ไกสอน พมวิหาน กับพัฒนาการสังคมนิยมลาว ระหว่าง ค.ศ. 1975-1986 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรชัยศิริไกร. (2548). การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองลาว (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

อนินทร์ พุฒิโชติ. (2546). ความสัมพันธ์เชิงนโยบายระหว่างการศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจลาวภายใต้ "จินตนาการใหม่" ค.ศ.1986-2000 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนินทร์พุฒิโชติ. (2558). การเชิดชูวีรกษัตริย์: การเมืองชาตินิยมกับการดำรงอยู่ของรัฐสังคมนิยมลาวในยุคโลกาภิวัตน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุรัตน์ฝันถึงภูมิ. (2548). การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของ ส.ป.ป.ลาว ระหว่างปี ค.ศ. 1975-2003 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Belogurova, A. (2014). Communism in South East Asia. In S.A. Smith (Ed.), The Oxford handbook of the history of communism. Oxford: Oxford University Press.

Evans, G. (1998). The politics of ritual and remembrance: Laos since 1975.Chiang Mai: Silkworm Books.

Evans, G. (2002). A short history of Laos: the land in between. Chiang Mai: Silkworm Books.

Evans, G. (2012). A short history of Laos: the land in between(Revised ed.). Chiang Mai: Silkworm Books.

Ku, S. C. Y. (2015). Laos in 2014: Deepening Chinese Influence. Asian Survey, 55(1), 214-219. Retrieved April 22, 2020, from h ttps://www.jstor.org/stable/10.1525/as.2015.55.1.214

Rathie, M. (2017). The History and Evolution of the Lao People's Revolutionary Party. In V. Bouté & V. Pholsena (Eds.), Changing Lives in Laos: Society, Politics, and Culture in a Post-socialist State. Singapore: NUS Press.

Sayalath, S., & Creak, S. (2017). REGIME RENEWAL IN LAOS: The Tenth Congress of the Lao People’s Revolutionary Party. Southeast Asian Affairs, 179-200. Retrieved March 30, 2019,from https://www.jstor.org/stable/26492601

Stuart-Fox, M. (1997). A history of Laos. Cambridge: Cambridge University Press.

Stuart-Fox, M. (2002). Buddhist kingdom, Marxist state: the making of modern Laos (2nd ed.). Bangkok: White Lotus.

Stuart-Fox, M. (2009). LAOS: The Chinese Connection. Southeast Asian Affairs,141-169. Retrieved March 30, 2019, from https://www.jstor.org/stable/27913382

Tappé, O. (2013). Faces and Facets of the Kantosou Kou Xat – the Lao “National Liberation Struggle” in State Commemoration and Historiography. Asian Studies Review,37(4), 433-450.Retrieved May 3, 2018, from https://eds.a.ebscohost.com/eds/pdfviewer/pdfviewer?vid=9&sid=4bafdd70-936a-4ec9-9966-e331c9d544ef%40sessionmgr4008

Ungpakorn, J. G. (1998). The Failure of Stalinist Ideology and the Communist Parties in Southeast Asia. Thammasat Review,3(1),87-96. Retrieved December 14, 2019,from http://digi.library.tu.ac.th/journal/0040/1998/3_1/06PAGE87_PAGE96.pdf

คะนะโคสะนาอบฮมสูนกางพัก. (2011). สะหลุบ 25 ปี แห่งกานเปี่ยนแปงใหม่ (1986-2011). เวียงจัน: โฮงพิมแห่งลัด.

คะนะโคสะนาอบฮมสูนกางพัก. (2015). 60 ปี พักปะซาซนปะติวัดลาว (22/03/1955-22/03/2015). เวียงจัน: โฮงพิมแห่งลัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29