การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่เกาะบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • มูหำหมัด สาแลบิง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ตลอดชีวิต, ผู้สูงอายุ, พื้นที่เกาะบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมการ ระยะการทำวิจัย ระยะการจัดทำแผน ระยะการนำแผนไปปฏิบัติ และระยะการติดตามประเมินผล การเก็บข้อมูลในระยะการทำวิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักมีจำนวน 60 คน เป็นบุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งอาศัยอยู่ในตำบลตันหยงโป ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง ตำบลปูยู และตำบลเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของผู้สูงอายุสั่งสมมานานจากรุ่นสู่รุ่น ที่สำคัญได้แก่ ภูมิปัญญาในการทำประมงชายฝั่ง ภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและป่าชายเลน ภูมิปัญญาในการประดิษฐ์เครื่องมือจับสัตว์น้ำ การแปรรูปอาหารทะเล และการจักรสาน ปัจจุบันผู้สูงอายุมีการเรียนรู้วิทยาการใหม่ ๆ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการพัฒนา ที่สำคัญได้แก่ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวชุมชน การผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน

References

กมลชนก ภูมิชาติ, ปรีชา สามัคคี, และลัญจกร นิลกาญจน์. (2561). รูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. วารสารอินทนิลทักษิณสาร. 13(1), 115-132.

กองสวัสดิการสงเคราะห์ กรมประชาสังเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2542). ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมประชาสังเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: เทพเพ็ญวานิสย์.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารครุศาสตร์. 43(2), 141-156. เข้าถึงได้ใน https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/37610

พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 125 ตอนที่ 41 ก ลงวันที่ 3 มีนาคม 2551

ภูมิ โชคเหมาะ. (2552). กฎหมายการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด. เข้าถึงได้ใน http://thaitgri.org/?p=38427

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, ภาวนา พัฒนศรี และธนิกานต์ ศักดาพร. (2560). การถอดบทเรียนตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนและชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้. กรุงเทพมหานคร: โครงการสร้างและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปาก จากชาวนาสู่ผู้ประกอบการ. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

อาชัญญา รัตนอุบล, ปาน กิมปี, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, วรรัตน์ อภินันท์กูล, และ ระวี สัจจโสภณ. (2554). การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

อาชัญญา รัตนอุบล, ปาน กิมปี, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, มนัสวาสน์ โกวิทยา, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, และระวี สัจจโสภณ. (2553). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อาชัญญา รัตนอุบล, ปาน กิมปี, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, วรรัตน์ อภินันท์กูล, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย, และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่วัยแรงงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

Amoss P. (1981). Coast Salish elders. In P.T. Amoss & S. Harrell (Eds.), Other ways of growing old: Anthropological perspectives (pp. 227-247). Stanford CA: Stanford University Press.

Linderman E. C. (1926). The meaning of adult education. New York: New Republic. Retrieved from https://archive.org/details/meaningofadulted00lind/page/n5

Knowles M. S. (1968). Andragogy, not pedagogy. Adult Leadership. 16(10), 350-352.

Narushima M., Liu J., and Diestelkamp N. (2018). Lifelong learning in active ageing discourse: its conserving effect on wellbeing, health and vulnerability. Ageing and Society. 38(4), 651-675.

World Health Organization. (2002). Active Aging, A Policy Framework. A Contribution of the World Health Organization to the Second United Nation World Assembly on Ageing, Madrid, Spain, April.

บุคลานุกรม

เจ๊ะหม๊ะ เจ๊ะบิลาง (นามแฝง) (ผู้ให้สัมภาษณ์). ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ (ผู้สัมภาษณ์). ที่หมู่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง จังหวัดสตูล. เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561.

ดัน ปูยู (นามแฝง) (ผู้ให้สัมภาษณ์). ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ และมูหำหมัด สาแลบิง (ผู้สัมภาษณ์). ที่หมู่ 1 ตำบลปูยู จังหวัดสตูล. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561.

นะ ปูยุต (นามแฝง) (ผู้ให้สัมภาษณ์). ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ และมูหำหมัด สาแลบิง (ผู้สัมภาษณ์). ที่หมู่ 1 ตำบลปูยู จังหวัดสตูล. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561.

ยูเด็น เจ๊ะบิลัง (นามแฝง) (ผู้ให้สัมภาษณ์). ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ (ผู้สัมภาษณ์). ที่หมู่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง จังหวัดสตูล. เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561.

ฮาซานะ ตำมะลัง (นามแฝง) (ผู้ให้สัมภาษณ์). ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ (ผู้สัมภาษณ์). ที่หมู่ 2 ตำบลตำมะลัง จังหวัดสตูล. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29