บุคลาธิษฐานทางธรรมชาติ : การสร้างรูปและความหมายทัศนศิลป์จากวิธีคิดแบบนามธรรมของภาคใต้

ผู้แต่ง

  • วิเชษฐ์ จันทร์คงหอม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สุชาติ เถาทอง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • โกสุม สายใจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

บุคลาธิษฐานทางธรรมชาติ, การสร้างรูปและความหมายทัศนศิลป์, วิธีคิดแบบนามธรรม, ทัศนศิลป์ภาคใต้

บทคัดย่อ

ความเชื่อดั้งเดิมร่วมกันของคนภาคใต้ เชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ เช่น พระแม่ธรณี แม่โพสพ ทวด เป็นต้น ความคิดดังกล่าวเป็นความคิดนามธรรม เป็นบุคลาธิษฐานทางธรรมชาติ ที่คิดว่าเทพในธรรมชาติ มีชีวิตจิตใจเหมือนมนุษย์ ความเชื่อดังกล่าวถูกถ่ายทอดเป็นงานศิลปะ                                                                                                                                                   การวิเคราะห์บุคลาธิษฐานทางธรรมชาติ พบว่า มีความเป็นเอกภาพ ระหว่าง ธรรมชาติ มนุษย์ สังคม วัฒนธรรม และ เป็นวัฏจักร อีกทั้งมีแนวคิดที่แฝงอยู่คือ เอกภาพ ทวิลักษณ์ และพหุลักษณ์มีความเชื่อมโยง ระหว่าง อดีต ปัจจุบัน อนาคต ระหว่างความจริงกับอุดมคติ ระหว่างรูปธรรมกับนามธรรมจากแนวคิดสำคัญดังกล่าว สังเคราะห์เป็นผลงานสร้างสรรค์ แสดงรูปและความหมายทัศนศิลป์ใช้หลักสุนทรียภาพ คือ ความงาม เกิดจากเอกภาพ ความกลมกลืน และต้องมีเป้าหมายเพี่อความดี มีวิธีการสร้างรูปแบบจาก ความจริงผสานกับอุดมคติ สังเคราะห์เป็นจินตภาพและสร้างสรรค์ผลงานผ่านทัศนสัญลักษณ์ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างรูปทรงที่สัมพันธ์กับทฤษฎีการรับรู้ของ เกสตอลท์ (Gestalt Theory) เช่น หลักการค้นหาสภาพรวมที่เป็นเอกภาพ (unified whole) และ ส่วนรวมย่อมได้รับอิทธิพลจากส่วนย่อยรอบตัวเพื่อสร้างการรับรู้แบบตรง(sense perception) และแบบอ้อมซึ่งต้องแปลความหมาย (sense conception)    เป้าหมายสำคัญของผลงานสร้างสรรค์ เพื่อสุนทรียภาพและสะท้อนความหมายที่แท้จริง (Contextual Meaning) ของวิธีคิดนามธรรมจากบุคลาธิษฐานทางธรรมชาติ  คือเอกภาพ วัฏจักรในธรรมชาติที่สมบูรณ์ยั่งยืน ซึ่งผลกระทบทางความคิดนามธรรมจะส่งผลถึงการปฏิบัติ ให้เกิดเอกภาพ ความประสานกลมกลืน ความสมบูรณ์ในวัฏจักรธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมภาคใต้

References

กพันธ์ วิลาสินีกุล. (2555). ปัญญา วิจินธนสาร : ปรากฏการณ์ศิลปะไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : คมบาง.

เจมส์ คลิฟฟอร์ด. (2554). ฟ้าเดียวกัน. แปลโดย ประชา สุขวีรานนท์. กรุงเทพ ฯ : ฟ้าเดียวกัน.

ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. (2548). ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพฯ : สวีริยาสาส์น.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2545). ประวัตศาสตร์ศิลป์และการออกแบบ. กรุงเทพ ฯ : อีแอนด์ไอคิว.

ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา บำรุงสุข. (2555). อ่านอินเดีย ประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย ก่อน ค.ศ. 1947. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สุชาติ สุทธิ. (2544). คู่มือการสอน สุนทรียภาพของชีวิต.กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

สิทธิ์ บุตรอินทร์. (2554). ปรัชญาเปรียบเทียบมนุษยนิยมตะวันออกกับตะวันตก. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุคส์.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2548). รู้จักทักษิณ. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2548). ทฤษฏีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม : การทะลุกรอบและกับดักของความคิดแบบคู่ตรงกันข้าม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์บุ๊คเซนเตอร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-28