สังเคราะห์องค์ความรู้เรื่อง “วัฒนธรรมบริโภคนิยม” จากงานวิจัยไทยในรอบ 22 ปี (พ.ศ.2538 - พ.ศ.2560)
คำสำคัญ:
องค์ความรู้, วัฒนธรรมบริโภคนิยมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องวัฒนธรรมบริโภคนิยมจากงานวิจัยไทยในรอบ 22 ปี (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2560) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ จากฐานข้อมูลออนไลน์ 9 ฐาน จำนวน 42 เรื่อง ผลการสังเคราะห์ทำให้เห็นทิศทางการศึกษา 2 ช่วงดังนี้ ช่วงศึกษาพฤติกรรมการบริโภคนิยม (พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2549) โดยใช้แนวคิดบริโภคนิยมเชิงสัญญะ แนวคิดอัตลักษณ์ แนวคิดค่านิยม และมายาคติ สำรวจพฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติของผู้บริโภคเป็นหลัก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา แหล่งข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ ชุมชนในเมือง ร้านกาแฟ ศูนย์การค้า และช่วงการศึกษาการทำวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้า (พ.ศ.2550 - พ.ศ. 2560) เน้นศึกษาทัศนคติ และวิถีชีวิตแบบบริโภคนิยม โดยใช้แนวคิดการแปลงวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในการศึกษา แหล่งข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ พื้นที่ในกรุงเทพฯ ภาคอีสาน ภาคใต้ และต่างประเทศ ผลจากการเปรียบเทียบสองช่วงการศึกษาในเรื่องวัฒนธรรมบริโภคนิยม เห็นได้ว่าการบริโภคนิยมมีพลวัต ปรับเปลี่ยนรูปแบบและมีแนวโน้มขยายตัวต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2560). สายธารแห่งนักคิด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : อินทนิล.
เกษม เพ็ญภินันท์. (2549). สู่พรมแดนความรู้ เรื่องวัฒนธรรมบริโภค : ความเป็นปกติวิสัยของการบริโภควัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน, ใน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บรรณาธิการ), รายงานวิจัยฉบับสมบรูณ์ (เล่มที่1) โครงการสังเคราะห์ความรู้และจัดประชุมเรื่อง “วัฒนธรรมบริโภค” เพื่อจัดประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 5, 7 - 61. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2560). การสร้างและการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมสู่การเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวของชาวมอญ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(1), 224 - 238.
ชาติชาย มุกสง. (2549). ฟาสต์ฟู้ดกลายพันธุ์ : การเปลี่ยนแปลงความหมายของอาหารกับการบริโภคเชิงสัญญะข้ามวัฒนธรรม, ใน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บรรณาธิการ), รายงานวิจัยฉบับสมบรูณ์ (เล่มที่1) โครงการสังเคราะห์ความรู้และจัดประชุม เรื่อง “วัฒนธรรมบริโภค” เพื่อจัดประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 5. 214-261. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2547). บริโภคโพสต์โมเดิร์น. กรุงเทพฯ : มติชน.
ยุวดี ช่วยกิจ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทางการตลาดของฟิลลิป คอตเลอร์ กับลัทธิบริโภคนิยม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรินธร รัตน์เจริญขจร. (2546). ร้านกาแฟ: ความหมายในวัฒนธรรมไทยยุคบริโภคนิยม, ใน พัฒนา กิติอาษา (บรรณาธิการ), มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย, 224 - 264. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
อิทธิเทพ หลีนวรัตน์. (2558). การโฆษณา : วัฒนธรรมการบริโภคในสังคมไทย, วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 2(2), 63 - 74.