ยุทธศาสตร์ภูมิคุ้มกันด้านการรับรู้สื่อ: ความเชื่อและการส่งต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ประมา ศาสตระรุจิ

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์ภูมิคุ้มกัน, การรับรู้สื่อ, ความเชื่อ, สื่อออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย  เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อและการส่งต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์ และเพื่อแสวงหาแนวทางในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจต่อผลกระทบในการส่งต่อข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการในการสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีต่อประชาชนในความเชื่อและส่งต่อข้อมูลข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยกระบวนการแบบการสำรวจเป็นลำดับ (Exploratory Sequential Design)

ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกประชาชน 3 กลุ่ม พบว่า ข้อมูลที่ได้รับจะมีความน่าเชื่อถือหากมีลักษณะของความสมเหตุผลในเชิงตรรกเป็นเบื้องต้น ส่วนที่ทั้งสามกลุ่มแตกต่างกันคือระดับชั้นความลึกของแหล่งข่าว วัยรุ่นจะเชื่อถือข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องทราบแหล่งข่าว ในขณะที่กลุ่มคนวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงวัยที่มีการศึกษาจะเชื่อก็ต่อเมื่อทราบแหล่งอ้างอิงในระดับที่สูงขึ้นมามากกว่ากลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยรุ่นมีความเชื่อว่าข่าวสารที่ส่งออกไปสร้างความสนใจและการยอมรับของกลุ่ม คนวัยทำงานจะเริ่มมีความระมัดระวังมากขึ้นโดยข่าวสารที่จะส่งต่อจะมีลักษณะเชิงความปรารถนาดี ส่วนกลุ่มผู้สูงวัยนั้นจะส่งต่อข้อมูลข่าวสารโดยมีเป้าหมายหลักในการกระจายข่าวสารนั้นไปยังบุคคลต่างๆ  ที่ตนเองรู้จัก

การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า  การศึกษาความเห็นและพฤติกรรมของประชาชนเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการส่งต่อข้อมูลข่าวสารของประชาชน ด้านความเชื่อถือในกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการส่งต่อข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านพฤติกรรมความเชื่อข้อมูลข่าวสาร ด้านปฏิสัมพันธ์หลังจากส่งต่อข้อมูล ด้านความรู้สึกในการส่งต่อข้อมูล ด้านความเชื่อต่อผลกระทบจากข้อมูลข่าวสารในบุคคลอื่น ด้านคุณค่าของการส่งต่อข้อมูล ด้านปฏิสัมพันธ์ต่อข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์, จาก http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf, 2559.

ณรงค์ศักดิ์ ศรีทนานันท์. (2554). แนวทางการกำกับสื่อใหม่ในยุคการหลอมรวมเทคโนโลยี. วารสารนักบริหาร. 31(4), ตุลาคม - ธันวาคม 2554.

นภินทร ศิริไทย. (2547). ความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพภูมิคุ้มสุขภาพที่ดีสำหรับเด็กและเยาวชน ในการพัฒนาองค์ความรู้การรู้เท่าทันสื่อสุขภาพสู่หลักสูตรในระบบและนอกระบบการศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ปราณี รามสูต. (2542). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

วรนารถ แสงมณี. (2544). องค์การและการจัดองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ : ระเบียงทองการพิมพ์.

อดุลย์ เพียรรุ่งโรจน์. (2543). การศึกษาแนวคิดเพื่อกำหนดตัวแปรความรู้เท่าทันสื่อสำหรับการวิจัยสื่อสารมวลชน (วิทยานิพนธ์ปริญญษมหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Buckingham, David and others. (2005). The Media Literacy of Children and Young People : A Review of the Research Literature. London : OFCOM.

Creswell, John W. (2015). Educational research: Planning, conducting, and evaluating quantitative and qualitative research (5th ed.). Boston, MA : Pearson.

Livingstone and others. (2007). Adult Media Literacy: A Review of the Research Literature. London : OFCOM.

Potter, W. J. (2005). Media Literacy (3rd ed.). California : SAGE.

Rojecki, A & Meraz, S. (2016). Rumors and factitious informational blends: The role of the web in speculative politics. New media & Society, 18 (1). P.25-43.

Zhao, Z., Resenick, P., & Mei. Q. (2015). Enquiring minds: Early detection of rumors in social media from equiry post. Proceedings of the 24th International Conference on World Wide Web. P.1395-1405.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30