การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองด้านนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ผู้แต่ง

  • ณิชาพร ศรีนวล
  • คณิต เขียววิชัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการตนเอง, นวัตกรรมสุขภาพ, ความเข้มแข็งของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการตนเองด้านนวัตกรรมสุขภาพ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best Practice) และปัจจัยหรือเงื่อนไขความสำเร็จของการจัดการตนเองด้านนวัตกรรมสุขภาพ ตลอดจน  การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองด้านนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเป็นการวิจัยในลักษณะของพหุเทศะกรณี (Multisite   Multi-case)

ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลพื้นฐานการจัดการตนเองด้านนวัตกรรมสุขภาพ สาเหตุการเกิดขึ้นของนวัตกรรมสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจาก การที่แกนนำชุมชนหรือปราชญ์ชาวบ้านนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาแก้ไขปัญหาสุขภาพ และความต้องการของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของชุมชนโดยมีภาคีเครือข่ายในการจัดการคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมกับองค์กรบริการด้านสุขภาพ และทุนทางสังคม มีการบริหารในรูปของคณะกรรมการ มีกฎระเบียบ มาตรการทางสังคมที่ใช้เป็นแนวปฏิบัติ  สำหรับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีความเป็นเลิศใน 2 ทิศทาง ได้แก่ ด้านนวัตกรรมกระบวนการจัดการตนเอง และด้านนวัตกรรมผลผลิตในการจัดการตนเอง ส่วนปัจจัยหรือเงื่อนไขความสำเร็จมี 10 ด้านคือ  1.ด้านนโยบายการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  2.ด้านการมีส่วนร่วม 3.ด้านการมีศักยภาพทุนทางสังคมของชุมชน 4.ด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 5. ด้านการใช้ประโยชน์ของระบบข้อมูล 6.ด้านการหนุนเสริมของภาคีเครือข่าย 7.ด้านระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติในชุมชน 8.ด้านการสร้างเครื่องมือในการจัดการตนเองของชุมชน 9.ด้านการพัฒนาสู่นโยบายสาธารณะ 10.ด้านภาวะผู้นำกลุ่ม ส่วนรูปแบบการจัดการตนเองด้านนวัตกรรมสุขภาพมี 4 ขั้นตอน คือ1) การค้นหาและพัฒนาศักยภาพตนเอง 2) การสร้างพลังเครือข่ายสังคม 3)การขับเคลื่อนในชุมชน 4)การบูรณาการเพื่อความเข้มแข็งโดยอาจเรียกรูปแบบนี้ว่า “ 3SI SELF-MANAGEMENT MODEL” ที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิและเวทีประชาคม

References

ณัฏฐ์พิชญา อินทรทองแก้ว. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลและรูปแบบของความเข้มแข็งของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาคลองกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานผลการวิจัย). นครศรีธรรมราช : กรมทรัพยากรน้ำ.

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างองค์กรชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาตำบลวังชมพู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ (รายงานผลการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

นิโลบล นิ่มกิ่งรัตน์ ประสิทธิ์ ม้าลำพอง สมบูรณ์ นิ่มกิ่งรัตน์ (2553). โครงการสร้างเสริมสุขภาพของสำนัก 6 สสส.ปี 2551-2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ปรีชา โอฬารอร่ามกุล. (2553). กระบวนการยอมรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มยุรี ผิวสุวรรณ ดารณี สุวพันธ์ วิไลภรณ์ โคตรบึงแก Karen Heinicke-Motsch Barney McGlade ปิยมาศ อุมัษเฐียร (2556). BCR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (Community Based Rehabilitation). กรุงเทพฯ: พรีเมียม เอ็กซ์เพรส.

สาทิต จิตนาวา. (2551). การศึกษาขั้นตอนการก่อเกิดนโยบายสาธารณะ: ศึกษากรณี พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สาวิตรี สอาดเทียน. (2551). กระบวนการทุนทางสังคมในการทำเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีผลต่อ
การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนวังตะกู ตำบลวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2552ก). เอกสารวิชาการงานมหกรรมสุขภาพชุมชน 2552 พลวัต
การสาธารณสุขมูลฐาน- สามทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง: มุมมองจากประชาคมโลก.
(ห้อง Grand Diamond อิมแพคเมืองทองธานี, 20 กุมภาพันธ์).

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2557). สุขภาพคนไทย 2557:ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง...สู่การปฏิรูปประเทศจากฐานราก. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อนันต์ มาลารัตน์. (2551). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเครือข่ายชุมชนด้านสุขภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Keeves, J. P. (1988). Educational research, and methodology, and measurement : An International handbook. Oxford: Pergamon Press.

Chen, H.-L. (2006). A study of the relation between community empowerment, social capital, and sense of community. (Master,s thesis ,National Sun Yat-Sen University).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30