การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้อักษรคันจิโดยใช้เทคนิคแผนผังใยแมงมุม
คำสำคัญ:
อักษรคันจิ, แผนผังใยแมงมุม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคงทนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอักษรคันจิ ความคงทนในการเรียนรู้อักษรคันจิ และความพึงพอใจของนิสิตที่เรียนอักษรคันจิโดยใช้เทคนิคแผนผังใยแมงมุมประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตระดับปริญญาตรี วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จำนวน 25 คน ซึ่งเก็บข้อมูลในช่วงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแผนผังใยแมงมุม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอักษรคันจิ ใช้ทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอักษรคันจิหลังเรียนสูงกว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอักษรคันจิก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยความคงทนในการเรียนรู้อักษรคันจิหลังการสอบ 3 สัปดาห์สูงกว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอักษรคันจิหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนิสิตที่เรียนอักษรคันจิโดยใช้เทคนิคแผนผังใยแมงมุมโดยภาพรวม อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.5)