ภูมินามชื่อหมู่บ้านภาษามลายูถิ่นในจังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ธิดา ดอคา
  • วราภรณ์ ทนงศักดิ์
  • นิสากร กล้าณรงค์

คำสำคัญ:

ภูมินาม, ภาษามลายูถิ่น, ลักษณะทางภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวันของประชากรส่วนใหญ่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย การกระจายของนามทั่วไปของภูมินามชื่อหมู่บ้านภาษามลายูถิ่น และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของนามทั่วไปของชื่อหมู่บ้านกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดยะลา โดยศึกษาจากชื่อหมู่บ้านภาษามลายูถิ่นที่ทราบความหมาย จำนวน 194 ชื่อ ในจังหวัดยะลา ผลการศึกษาพบว่า ภูมินามชื่อหมู่บ้านจำแนกตามความหมายได้ 4 ชนิด คือ ลักษณะภูมิประเทศ 88 ชื่อ แหล่งน้ำ 28 ชื่อ พืชพรรณ 25 ชื่อ และ เกี่ยวกับบุคคล จำนวน 11 ชื่อ ภูมินามชื่อหมู่บ้านภาษามลายูถิ่นพบในทั้ง 8 อำเภอของจังหวัดยะลา อำเภอที่พบภูมินามชื่อหมู่บ้านภาษามลายูถิ่นมากที่สุด คือ อำเภอรามัน จำนวน 38 ชื่อ ชื่อหมู่บ้านสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ของที่ตั้งถิ่นฐานกับชื่อเรียกหมู่บ้าน แม้ว่าการศึกษานี้จะไม่ครอบคลุมทุกจังหวัดที่มีชื่อหมู่บ้านภาษามลายูถิ่นในภาคใต้  แต่อย่างน้อยช่วยให้ผู้ที่สนใจศึกษาภูมินามได้เข้าใจความหมาย และ คำศัพท์ทางภูมิศาสตร์ในภาษามลายูถิ่นดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31