ทิศทางการทำ วิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ ในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2540-2560)

ผู้แต่ง

  • พัชลินจ์ จีนนุ่น

คำสำคัญ:

ทิศทางการทำวิจัย, วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้, สองทศวรรษ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ทิศทางการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่น ภาคใต้ในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2540-2560) โดยรวบรวมบทคัดย่องานวิจัยใน ระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นในการทำวิจัย และงานตีพิมพ์ในรูปแบบงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ช่วงพ.ศ. 2540-2560 พบ 133 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า สถาบันการศึกษาที่ใช้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้มีทั้งหมด 24 สถาบัน ส่วนหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่น พบ 25 หลักสูตร โดยประเภทของข้อมูลที่นักวิจัยนำมาใช้มีจำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบันเทิงคดี กลุ่มบทร้องพื้นบ้าน กลุ่มนิทานและศาสนา กลุ่มสุภาษิตและคำ สั่งสอน กลุ่มตำรา แบบเรียนและคัมภีร์ กลุ่มตำนานพื้นบ้าน กลุ่มประเพณีและพิธีกรรม กลุ่มนิราศ กลุ่มฤกษ์ยาม ดูนิมิตและทำนายลักษณะ และกลุ่มประสมประสานประเภท วรรณกรรม โดยกลุ่มประเภทนิทานและศาสนาได้รับความสนใจจากนักวิจัยมากที่สุด สำหรับแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยพบ 12 แนวคิด ได้แก่  1. การวิจัยองค์ประกอบทางวรรณกรรม 2. การวิจัยเชิงสุนทรียศาสตร์ 3. การวิจัยเชิงสังคม 4. การวิจัยเชิงเปรียบเทียบ 5. การวิจัยเชิงพุทธปรัชญา 6. การวิจัยโดยใช้ทฤษฎีสมัยใหม่ 7. การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ 8. การวิจัยเชิงภาษา 9. การวิจัยเชิงคติชน 10. การวิจัยเชิงวัฒนธรรมภูมิปัญญา 11. การวิจัยสันติสุข ขันติธรรม และ 12. การวิจัยเชิงการสื่อสาร โดยการวิจัยองค์ประกอบวรรณกรรมได้รับความนิยมมากที่สุด การวิจัยในครั้งนี้ค้นพบว่า ทิศทางการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นค่อนข้างย่ำอยู่กับที่นักวิจัยมุ่งวิเคราะห์ตัวบทวรรณกรรมมากกว่าการเชื่อมโยงกับบริบททางสังคม หรือการอาศัยแนวคิดทฤษฎีมาอธิบายตัวบท นอกจากนี้ ก็ยังมุ่งวิจัยเอกสารมากกว่ามุ่งวิจัยเชิงคุณภาพหรืออื่น ๆ ดังนั้น การวิจัยในอนาคตนักวิจัยอาจต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่หลากหลายขึ้น รวมถึงความพยายามบูรณาการกับสังคมการให้สังคม   เข้ามามีส่วนร่วม การทำงานเป็นกลุ่มและการวิจัยเชิงสหศาสตร์

References

กมลทิพย์ กาลพันธุ์. (2554). วาทกรรมวัฒนธรรมชุมชนในบันเทิงคดีของพนม นันทพฤกษ์ ระหว่าง พ.ศ. 2520-2529 (ปริญญานิพนธ์มหา
บัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2560). เครื่องมือทำงานวัฒนธรรมชุมชน และสื่อพิธีกรรมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพ
พิมพ์.

กิตสุรางค์ กาฬสุวรรณ. (2546). การวิเคราะห์โครงสร้างนิทานพื้นบ้านไทยมุสลิมภาคใต้ตามทฤษฎีโครงสร้างนิทานของวลาดิมีร์ พรอพพ์
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เกษม ขนาบแก้ว. (2540). ศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านแถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุง (รายงานวิจัย). สงขลา :
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ขวัญชนก นัยจรัญ. (2557). การวิเคราะห์ภาพสะท้อนค่านิยมของไทยจากนิทานพื้นบ้าน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ครื่น มณีโชติ. (2551). การปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ ประเภทหนังสือบุด เรื่อง ตำรายาคุณตาหมวก. สงขลา : สถาบันทักษิณคดี
ศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

คำนวณ นวลสนอง. (2542). การปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ประเภทหนังสือบุด เรื่อง หนังสือหลักไชย ฉบับตำบลอ่างทอง อำเภอ
เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จรูญ หยูทอง. (2543). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชนบทภาคใต้ที่ปรากฏในเรื่องสั้นของนักเขียนกลุ่มนาคร (ปริญญา
นิพนธ์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จำเริญ แสงดวงแข พรพันธุ์ เขมคุณาศัย และ จริญญา ธรรมโชโต. (2543). การศึกษาคำภาษาไทยถิ่นใต้ในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้
(รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จุไรรัตน์ รัตติโชติ. (2556). กลวิธีการกล่าวขัดแย้งในวรรณกรรมภาคใต้ : ตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัยวุฒิ พิยะกูล. (2546). การปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ ประเภทหนังสือบุด เรื่อง พงศาวดาร เล่ม 10 ฉบับพบที่วัดเขียนบางแก้ว
อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชัยวุฒิ พิยะกูล. (2553). การปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ ประเภทหนังสือบุด เรื่อง กัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุง. สงขลา : สถาบันทักษิณ
คดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชูพันธุ์ สมเกื้อ และคณะ. (2552). การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นสุราษฎร์ธานี ประเภทลายลักษณ์จากหนังสือบุด (รายงานวิจัย).
สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ณัฐา วิพลชัย. (2557). ลักษณะคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องพระมหาชาดกคำกาพย์ (รายงานวิจัย).
สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ถวิล จิตมานะ. (2540). การศึกษาเรื่องหอยสังข์ฉบับวัดเลียบ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). สงขลา :
มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นิหัสลัง เจะยามา. (2554). ผลการใช้นิทานพื้นบ้านมุสลิมเป็นบทเรียนเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใน
โรงเรียนสามจังหวัดชายแดนใต้ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเลิศ จันทระ. (2551). การปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ประเภทหนังสือบุด เรื่อง โองการ เชิญเทวดา ขับเข็น. สงขลา : สถาบัน
ทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปทุมกาญจน์ ศรีสุวรรณ. (2549). การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นสื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน
อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประพันธ์ สุวรรณมณี. (2543). ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุงใน จังหวัดนครศรีธรรมราช
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยะนารถ โภคามาศ. (2550). การศึกษาเวสสันดรชาดกฉบับท้องถิ่นภาคใต้ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพันธุ์ เขมคุณาศัย. (2556). เรียนรู้และเข้าใจคนมลายูมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้จากวรรณกรรมไทยร่วมสมัย (พ.ศ.2516-2552)
(รายงานวิจัย). พัทลุง : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2555). ลักษณะเด่นและบทบาททางสังคมของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต).
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชลินจ์ จีนนุ่น คุณัชญ์ สมชนะกิจ ธนภัทร เต็มรัตนะกุล. (2557). หลักและวิธีสอนคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับเยาวชนจากวรรณกรรม
ท้องถิ่นภาคใต้ ชุดวรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พิเชฐ แสงทอง. (2551). ตำนานไทยพุทธและมลายูมุสลิม: อำนาจและการต่อต้านในภาคใต้ของไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิทยา บุษรารัตน์. (2541). การปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ ประเภทหนังสือบุด เรื่อง พระรถนิราศ ฉบับอำเภอเมืองสงขลา จังหวัด
สงขลา. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พิทยา บุษรารัตน์. (2555). การปริวรรตและศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ ประเภทหนังสือบุด เรื่อง ตำรายา ฉบับตำรายาควาย.
สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พีรยุทธ โอรพันธ์. (2554). การศึกษาความหมายวรรณกรรมประวัติศาสตร์ของชาวมลายูปัตตานี: ‘ประวัติราชอาณาจักรมลายูปะตานี’
(รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มาณี กิติบุญญา. (2550). นิทานพื้นบ้านจังหวัดกระบี่ : การศึกษาวิเคราะห์จริยธรรม (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัย
นเรศวร.

โรสณีย์ วงศ์หมัดทอง. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านภาคใต้ของอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ในอดีตกับปัจจุบัน
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ราชิดา พฤกษารัตน์. (2540). โวหารรักในเพลงกล่อมเด็กที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). สงขลา :
มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วรรณะ หนูหมื่น. (2559). เรื่องเล่าวาลีใน 3 จังหวัดชายแดนใต้: ตำนานการรับนับถือศาสนาในท้องถิ่น และความสำคัญในบทบาท
วรรณกรรมพื้นบ้าน (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.

วรรณา ปูเป็ง. (2546). ศึกษาวิถีชีวิตชาวนครศรีธรรมราชจากบทหนังตะลุง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัชราภรณ์ พัฒนศิริ. (2540). วิเคราะห์วรรณกรรมประเภทนิทานประโลมโลกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นครปฐม :
มหาวิทยาลัยศิลปกร.

วันดี กรุณากร. (2542). สุนทรียภาพในบทหนังตะลุงของหนังกั้น ทองหล่อ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.

วัศรนันทน์ ชูทัพ. (2557). ภูมิปัญญาในวรรณกรรมเยาวชนของนักเขียนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.

วิมลมาศ ปฤชากุล. (2550). อัตลักษณ์พื้นถิ่น ในบันเทิงคดีภาคใต้ (พ.ศ.2522-2546) (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

ศรัณย์ วงศ์ขจิตร. (2554). จินตนาการปลายด้ามขวาน: อ่าน “ภูมิศาสตร์ในจินตนาการ” ผ่านนวนิยายจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร คชตุ้ง. (2544). เปรียบเทียบวรรณกรรมคำสอนเรื่องกาพย์ลุงสอนหลานสำนวนภาคใต้กับกาพย์ปู่สอนหลานสำนวนภาคอีสาน
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมพาษท์ สุวรรณรัตน์. (2543). ศึกษาวัฒนธรรมในนิทานพื้นบ้านอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). สงขลา :
มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุนิภา ไกรนรา. (2542). การนำปัญหาสังคมและสีสันท้องถิ่นภาคใต้มาใช้ในการแต่งเรื่องสั้นของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ (ปริญญานิพนธ์
มหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เสริมศรี อนันตพงศ์. (2540). ศึกษาจริยธรรมที่ปรากฏในการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัย
ทักษิณ.

เสริมศักดิ์ ขุนพล กิตติคุณ ฤทธินิ่ม. (2559). การสื่อสารภาพลักษณ์ความเป็นคนใต้ในสื่อมิวสิควีดีโอของศิลปินค่ายอาร์สยาม (รายงาน
วิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อำไพ เจริญกุล. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านประเภทผีภาคอีสานและภาคใต้. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อินทิรา สุวรรณ. (2540). บทบาทหนังตะลุงทางโทรทัศน์ในการถ่ายทอดความรู้ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

อุษา ช่วยบำรุง. (2550). ศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31