“ลือกาเวาะ”: วิถีการทำมาหากินกะเหรี่ยงโปร์ บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ ไชยชนะ
  • วีระวัฒน์ อุดมทรัพย์

คำสำคัญ:

ลือกาเวาะ, ความมั่นคงทางอาหาร, ทรัพยากรท้องถิ่น, กะเหรี่ยงโปร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการทำ มาหากินของ กะเหรี่ยงโปร์บ้านไร่ป้า ตำ บลห้วยเขย่ง อำ เภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ที่ส่งผล ต่อความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรม บนความหลากหลายของทรัพยากรท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา เก็บข้อมูลโดยการค้นคว้า จากเอกสาร ข้อมูลจากภาคสนาม ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกต แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูล โดยมี การตรวจสอบข้อมูลทุกขั้นตอน พื้นที่ศึกษา คือ บ้านไร่ป้า หมู่ที่ 5 ตำ บลห้วยเขย่ง อำ เภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ผลการวิจัยพบว่า “ลือกาเวาะ” เป็นเรื่องการทำ มาหากิน สอนให้คนอยู่อย่าง พอดี พอประมาณ รู้จักใช้ทรัพยากรในชุมชนที่มีอย่างมีเหตุผลและรู้คุณค่า ส่งผลต่อ ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน วิถีชีวิตกะเหรี่ยงบ้านไร่ป้ายึดรูปแบบการทำ การ เกษตรและหาของป่า ดำ เนินชีวิตเรียบง่าย รักสงบ รักอิสระ สันโดษ พอใจในสิ่งที่มี อยู่ ยึดกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ แต่ปัจจุบันโครงสร้างของครอบครัว เป็นครอบครัวเดี่ยว จำ นวนสมาชิกในครอบครัวลดลง สภาพเศรษฐกิจ สังคม ค่านิยม และความเชื่อที่เปลี่ยนไป ทำ ให้กลไกควบคุมความประพฤติของสมาชิกแบบเดิมใช้ไม่ ได้กับทุกคนและทุกเรื่อง แต่รากฐานทางความคิดและวัฒนธรรมยังคงอยู่ในวิถีของชุมชน มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่แน่นแฟ้น ชาวกระเหรี่ยงบ้านไร่ป้าคงรักษา ประเพณีดั้งเดิม แสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการแต่ง กายในงานประเพณีที่สำ คัญของหมู่บ้าน รักษาต้นน้ำ ลำ ธาร ที่สำ คัญ คือ ยังประกอบ อาชีพเกษตรกรรมหาพืช ผัก จากแหล่งธรรมชาติ มาบริโภค ใช้สมุนไพรในการรักษา โรค ดำ รงชีวิตจากการพึ่งพาอาศัยฐานทรัพยากรท้องถิ่นด้วยการนำ ภูมิปัญญาที่ สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมาใช้ดำ รงชีวิตซึ่งแสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนแห่งนี้ ภูมิปัญญาที่มีอยู่ทำ ให้ชาวกะเหรี่ยงในชุมชนแห่งนี้มีรูปแบบการพิทักษ์รักษาอาหาร ให้สามารถมีกิน มีใช้ตลอดปี ทั้งวิธีการหมัก ดอง ตาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ตกทอด เป็นมรดกของกลุ่มชนแห่งภูมิปัญญาของวิถี “ลือกาเวาะ” ที่ทำ ให้ชุมชนแห่งนี้สามารถ ดำ รงอยู่ได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน เป็นคำ ตอบที่ชุมชนแห่ง นี้ยังคงมีรูปแบบวิธีชีวิตบนความหลากหลายที่มีอยู่ในชุมชนอย่างยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07