กลวิธีการใช้ภาษาในการสื่ออุดมการณ์ความเป็นชาย ในนิตยสาร จี เอ็ม
คำสำคัญ:
กลวิธีทางภาษา, อุดมการณ์, ความเป็นชายบทคัดย่อ
บทความนี้นำ เสนอผลการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาในการสื่ออุดมการณ์ความเป็นชาย ในนิตยสาร GM ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “ภาษาและอุดมการณ์ความเป็นชายที่ ปรากฏในนิตยสารจี เอ็ม: การศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์” โดยประยุกต์ใช้แนวคิด และวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ตามแนวคิดวาทกรรม วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (CDA) ของแฟร์คลัฟ (Fairclough) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ นิตยสาร GM (Gentlemen’s Magazine) ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2529 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556 จำ นวน 168 ฉบับ
ผลการศึกษากลวิธีการใช้ภาษาในการสื่ออุดมการณ์ความเป็นชายในนิตยสาร GM พบกลวิธีทางภาษาทั้งหมด 9 กลวิธี ดังต่อไปนี้ 1) กลวิธีในการเลือกใช้คำ ศัพท์ 2) กลวิธี ในการใช้ภาษาภาพพจน์ 3) กลวิธีในการใช้คำ ถามเชิงวาทศิลป์ 4) กลวิธีในการเชื่อมโยง ความระหว่างประโยค 5) กลวิธีในการใช้วัจนลีลาแบบเป็นกันเอง 6) กลวิธีในการแทรก วาทกรรมทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเทคโนโลยี 7) กลวิธีในการแทรกเรื่องเล่า ประสบการณ์ส่วนบุคคล 8) กลวิธีในการกล่าวอ้างว่าเป็นความจริงของผู้ชาย และ 9 ) กลวิธี ในการใช้มูลบท ด้านความสัมพันธ์ระหว่างอุดมการณ์ “ความเป็นชาย” กับกลวิธีทางภาษา ในตัวบทนิตยสาร GM พบอุดมการณ์หรือชุดความคิด “ความเป็นชาย” 3 ชุดความคิด ได้แก่ ชุดความคิดที่ 1 ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ชายสามารถจัดแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ลักษณะที่พึงประสงค์ในรูปลักษณ์ภายนอก 2) ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอารมณ์ และความรู้สึก 3) ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านบทบาททางสังคม ชุดความคิดที่ 2 ลักษณะ ที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ชาย และชุดความคิดที่ 3 การจัดการร่างกายเพื่อให้มีลักษณะที่ พึงประสงค์