อัตลักษณ์มลายูใน “ทะเลนี้ลึกนัก”ของ อับดุลราซัค ปาแนมาแล

ผู้แต่ง

  • นูรียัน สาแล๊ะ

คำสำคัญ:

มลายูปาตานี, อัตลักษณ์, จิตสำนึกทางชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ชนชาติพันธุ์มลายูปาตานี ตามที่พรรณนาไว้ในหนังสือรวมเรื่องสั้นและบทกวีนิพนธ์ Pantai Ini Lautnya Dalam: Suara Nurani Melayu Patani (ทะเลนี้ลึกนัก: เสียงจากใจมลายู ปาตานี) ของอับดุลราซัค ปาแนมาแล โดยมุ่งศึกษาเรื่องสั้นที่นำเสนอแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์มลายู เพื่อศึกษาว่าคนมลายูปาตานีนั้น นิยามตัวเองว่าอย่างไรที่แสดงว่าเป็น ‘พวกเรา’ และมองตนเองว่าแตกต่างจาก ‘พวกเขา’ หรือ ‘พวกอื่น’ (คนไทยพุทธ) อย่างไร เหตุใดคนมลายูกลุ่มนี้จึงต้องการรักษาอัตลักษณ์ของตนเอาไว้ และพวกเขาจะมีวิธีการสืบทอดส่งผ่านไปยังชนรุ่นต่อไปอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า คนมลายูปาตานียังคงนิยมเรียกตนเองว่า“คนมลายู” โดยยึดโยงกับศาสนาอิสลามและสื่อสารด้วยภาษามลายูอันเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์มลายูที่โดดเด่นที่สุด สองสิ่งนี้ทำให้พวกเขาแตกต่างจากคน“ไทยพุทธ” ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ และพวกเขาจะสามารถรักษาอัตลักษณ์ความเป็นมลายูให้คงอยู่ต่อไปในอนาคตได้ด้วยวิธีการสอนให้ลูกหลานของพวกเขาสื่อสารด้วยภาษามลายูภายในชุมชนมลายู

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07