การศึกษาเปรียบเทียบอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่นและอักษรจีนในภาษาจีน

ผู้แต่ง

  • รัฐกิตติ์ เลิศวิศวะ

คำสำคัญ:

อักษรคันจิ, อักษรจีน, รูปร่าง, เสียง, ความหมาย

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเหมือนและความ แตกต่างของอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่นและอักษรจีนในภาษาจีนทั้งในด้านรูปร่าง เสียงและความหมาย โดยการนำอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวน 2,136 ตัวอักษรมาเปรียบเทียบกับอักษรจีนตัวเดียวกันทีละตัวอักษรใน 3 ด้าน คือรู ปร่าง เสียง และความหมาย

        ผลการวิจัย พบว่า ด้านรูปร่าง อักษรคันจิส่วนใหญ่ใช้อักษรจีนตัวเต็ม แต่มีส่วนหนึ่งที่มีรูปร่างแตกต่างจากอักษรจีนตัวเต็ม ได้แก่ อักษรจีนตัวย่อ อักษรต่างรูปและมีอักษรคันจิจำนวนหนึ่งที่คนญี่ปุ่นปฏิรูปและคิดค้นขึ้นเอง ด้านเสียง พบว่า เสียงของพยัญชนะจีนหนึ่งตัวอักษรสามารถใช้แทนเสียงพยัญชนะของอักษรคันจิได้หลายเสียง เนื่องจากคนญี่ปุ่นรับเอาอักษรจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นมานาน นอกจากนี้ เสียงสระของอักษรจีนหนึ่งเสียงสามารถเทียบเท่าเสียงของอักษรคันจิได้หลายเสียงอีกด้วย ด้านความหมายพบว่า อักษรคันจิกับอักษรจีนนั้นมีความหมายร่วมกันถึงร้อยละ 99 มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่มีความหมายแตกต่างกัน สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความหมายของตัวอักษรเดียวกันมีความหมายแตกต่างกันนั้น คือวิธีการปฏิรูปตัวอักษรของทั้งสองประเทศแตกต่างกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07