เกษตรกรชาวสวนยางพารากับการสะท้อนย้อนคิดต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • เสน่ห์ บุญกำาเนิด

คำสำคัญ:

เกษตรกรชาวสวนยางพารา, การสะท้อนย้อนคิด, ภูมิปัญญา

บทคัดย่อ

       บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสะท้อนย้อนคิดของเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่มีต่อกฎเกณฑ์ ทรัพยากร และวิถีการผลิตภายในสวนยางพาราด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์และสัมภาษณ์เชิงลึก เกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้ข้อถกเถียงที่ว่าเกษตรกรชาวสวนยางพาราในฐานะผู้กระทำการคือผู้ปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ทรัพยากร และวิถีการผลิต

       ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้มีการสะท้อนย้อนคิดต่อกฎเกณฑ์ซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ คือ การอยู่ร่วมกันของสัตว์ภายในสวนยางพารา พื้นที่สวนยางพาราของผู้กระทำการเป็นพื้นที่ลุ่มรับน้ำ        การเจริญเติบโตของพืชในที่ร่มและพื้นที่โล่งแจ้ง การอยู่ร่วมกันของพืชภายในสวนยางพาราและกฎเกณฑ์ทางสังคมคือ การศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบจากการฝึกอบรมความต้องการของตลาด บริบททางสังคมโดยรอบพื้นที่สวนยางพารา ข้อกำหนดจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพารา นโยบายของรัฐบาล รวมถึงคำบอกเล่าจากบุคคลรอบข้าง และการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่หลากหลายไปสู่วิถีการผลิตรูปแบบใหม่คือ ภูมิปัญญาชุดใหม่ ได้แก่ การทำสวนยางพาราร่วมกับการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การทำสวนยางพาราร่วมกับการปลูกพืชผักผลไม้ และการทำสวนยางพารากับเกษตรอินทรีย์ที่เกิดจากการสะท้อนย้อนคิดของผู้กระทำการต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07