มุมมองภาพสะท้อนจากตัวละครในนวนิยายสะท้อนสังคมเพศที่สาม พ.ศ.2516-2557
คำสำคัญ:
เพศที่สาม, นวนิยายสะท้อนสังคมเพศที่สามบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษามุมมองภาพสะท้อนจากตัวละครเอกเพศที่สามในวนิยายสะท้อนสังคม เพศที่สามด้านสถานภาพทางสังคม ปี พ.ศ. 2516-2557 จากนวนิยายจำนวน 25 เรื่อง โดยแบ่งเป็นนวนิยายชายรักชายจำนวน 13 เรื่องและนวนิยายหญิงรักหญิงจำนวน 12 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่าตัวละครเอกจากนวนิยายมีพัฒนาการในการแสดงออกทางเพศที่แตกต่างกันตามปัจจัยทางสังคมทั้งนี้การปกปิดตนเองว่าเป็นเพศที่สามของตัวละครเพศที่สามที่ปรากฏในนวนิยายนั้นก็เพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมของตนเอง ได้แก่ สถานภาพในการทำงานสถานภาพในครอบครัวและสถานภาพในการดำเนินชีวิตในสังคม ซึ่งผลกระทบจากการที่ตัวละครเพศที่สามปกปิดว่าตนเองเป็นเพศที่สามทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อสภาพจิตใจของตัวละครเพศที่สามอีกทั้งส่งผลต่อสภาพจิตใจของเพศหญิงที่เพศที่สามเลือกมาเยียวยาจิตใจตนเองและแต่งงานเพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมของตนเอง