คุณค่าและภูมิปัญญาจากวรรณกรรมภาคใต้ยุคการพิมพ์ พ.ศ. 2470-2520

ผู้แต่ง

  • พัชลินจ์ จีนนุ่น
  • วราเมษ วัฒนไชย
  • ปริยากรณ์ ชูแก้ว

คำสำคัญ:

คุณค่า, ภูมิปัญญา, วรรณกรรมภาคใต้ยุคการพิมพ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาคุณค่าและภูมิปัญญาจากวรรณกรรมภาคใต้ยุคการพิมพ์ พ.ศ. 2470-2520 จำนวน 32 เรื่อง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเอกสาร เน้นตีความจากตัวบท อาศัยทฤษฎีด้านวรรณกรรม คติชนประวัติศาสตร์ รวมถึงการสัมภาษณ์คนในชุมชนมาช่วยอธิบายข้อมูล โดยรวบรวมข้อมูลวรรณกรรมที่มีรูปเล่มเหมือนหนังสือวัดเกาะ ภาคกลาง แต่งเป็นร้อยกรองมีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ ระบุชื่อผู้แต่งอย่างชัดเจน พิมพ์เผยแพร่ในยุคการพิมพ์ซึ่งพบว่าปรากฏในช่วงทศวรรษ 2470-2520 ข้อมูลวรรณกรรมส่วนใหญ่แพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกพบมากเป็นพิเศษคือจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมกลุ่มนี้มีคุณค่า     7 ประการได้แก่ การสะท้อนภาพสังคมวัฒนธรรมภาคใต้ การบอกเล่าประวัติความเป็นมาของตำนานสถานที่ในท้องถิ่น การเสริมสร้างจิตสำนึกพลเมืองของประเทศ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนและคนกับสภาพแวดล้อม การเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติในท้องถิ่น การบ่งชี้อัตลักษณ์ของหญิงชายในสังคม และการถ่ายทอดภูมิปัญญาทางวรรณศิลป์             ทั้งแสดงออกทางภูมิปัญญา 4 ประการ ได้แก่ ภูมิปัญญาด้านการเลือกสรรรูปแบบคำประพันธ์ที่สอดรับกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาด้านการเลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่เข้าใจง่าย โดยเฉพาะการใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ ภูมิปัญญาด้านการปรับปรนองค์ประกอบของวรรณกรรมที่สอดรับกับบริบทสังคมวัฒนธรรมภาคใต้ และภูมิปัญญาด้านการนำเสนอเนื้อหาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสังคม สะท้อนให้เห็นพลังปัญญาของผู้แต่งชาวใต้ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มชนของตน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07