กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้อักษรคันจิในชั้นเรียน ตามแนวคิดของบลูม

ผู้แต่ง

  • คุณัชญ์ สมชนะกิจ
  • ศิรินทร์ญา เปียกลิ่น
  • พัชราภรณ์ นิลอุบล

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนการสอน, อักษรคันจิ, ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม

บทคัดย่อ

        อักษรญี่ปุ่นมีสามชนิด ได้แก่ อักษรฮิระงะนะ อักษรคะตะกะนะ และอักษร คันจิ ในบรรดาอักษรญี่ปุ่นทั้งสามชนิดนี้อักษรคันจิเป็นอักษรที่สร้างความยากลำบากให้แก่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นมากที่สุด โดยเฉพาะผู้เรียนที่มาจากกลุ่มประเทศที่ ไม่ใช้อักษรคันจิ เนื่องจากอักษรคันจิเป็นอักษรที่แสดงความหมาย มีจำนวนเส้นมาก อักษรหนึ่งตัวมีหลายเสียงอ่านและมีหลายความหมาย การเรียนการสอนอักษรคันจิโดยการเขียนคันจิซ้ำหลายครั้งหรือท่องจำเสียงอ่านและความหมายเป็นภาระแก่ผู้เรียนสูงและทำให้เกิดความเครียด เกิดปัญหาผู้เรียนขาดแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นต่อไปได้ หากผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมทางสติปัญญา เข้าใจการจำแนกระดับการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่นทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ผู้สอนจะสามารถดำเนินการเรียนการสอนอักษรคันจิได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเป้าหมาย ในปัจจุบันกิจกรรมเสริมทักษะอักษรคันจิทั้งในรูปแบบหนังสือ ตำรา หรือสื่ออินเทอร์เน็ตมีหลากหลาย ผู้สอนควรเลือกใช้กิจกรรมเสริมทักษะให้เหมาะกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละรูปแบบเนื้อหา ได้แก่ ที่มาของคันจิ รูปของคันจิ เสียงอ่าน ความหมาย และวิธีใช้ ซึ่งมีพฤติกรรมทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้กิจกรรมเสริมทักษะอักษรคันจิสามารถนำมาใช้ในห้องเรียนในฐานะเป็นแบบฝึกหัด แบบทบทวน หรือแบบ ทดสอบเพื่อวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังเรียนได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07