การถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการแสดง ความไม่พอใจของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษา ต่างประเทศชาวไทย

ผู้แต่ง

  • คุณัชญ์ สมชนะกิจ

คำสำคัญ:

การแสดงความไม่พอใจ, คนไทย, คนญี่ปุ่น, ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษา ต่างประเทศ, การถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบการเลือกใช้กลวิธีในการแสดงความไม่พอใจในสถานการณ์ต่าง ๆ 2) ศึกษาการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศชาวไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่

เจ้าของภาษาชาวญี่ปุ่น (JNS) จำนวน 52 คน ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยระดับสูง (TLJ-A) จำนวน 34 คน ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยระดับต้น (TLJ-B) จำนวน 57 คนและเจ้าของภาษาชาวไทย จำนวน 61 คน รวม 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบทดสอบชนิดเติมเต็มบทสนทนา (Discourse Completion Test : DCT) โดยการเขียนตอบแสดงความไม่พอใจในสถานการณ์ต่าง ๆ รวม 9 สถานการณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลวิธีที่พบการใช้มากที่สุดในทุกกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลวิธีที่ 5(การเรียกร้องให้ปรับปรุงแก้ไข) กลวิธีที่ 12 (ไม่แสดงการคุกคามหน้า) กลวิธีที่ 8

(การพูดให้ข้อมูลเพื่อให้รู้สึกผิด) กลวิธีที่ 11 (การถามหาเหตุผล) กลวิธีที่ 4 (การใช้ คำถามเชิงวาทศิลป์) และกลวิธีที่ 2 (การใช้คำที่มีความหมายทางลบ) 2) ชนิดของลำดับข้อความย่อยที่ปรากฏมากที่สุดเป็นกลวิธีเดี่ยวและคู่ และพบความหลากหลายของชนิดท่มี ีลำดับของความย่อยท่มี ากกว่า 2 ชนิดจำนวนมาก 3) พบการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ในกลุ่มผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม เป็นที่น่าสนใจว่ากลุ่มผู้เรียนภาษา ญี่ปุ่นชาวไทยระดับต้น (TLJ-B) มีการใช้กลวิธีที่ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาชาวญี่ปุ่น(JNS) เพียงแต่พบข้อผิดพลาดการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ ในขณะที่กลุ่มผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยระดับสูง (TLJ-A) ซึ่งมีระดับความสามารถทางภาษาสูง สามารถใช้รูปประโยคได้หลากหลายทำให้เกิดการใช้กลวิธีที่แตกต่างออกไปจากทั้งเจ้าของภาษาชาวญี่ปุ่น (JNS) และเจ้าของภาษาชาวไทย (TNS) ผลการศึกษาในครั้งนี้เป็น

ข้อมูลพื้นฐานไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้กลุ่มผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่มตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้องตามหลักวัจนปฏิบัติศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07