แรงจูงใจในตนเองที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

Main Article Content

ปริษา เจิมนาค
สำเริง อ่อนสัมพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) แรงจูงใจในตนเองของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3  3) แรงจูงใจในตนเองที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3 จำนวน 58 โรง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน รวม 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในตนเองตามแนวคิดของ สปิตเซอร์ (Spitzer) และ การบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดของ ลอว์เลอร์ และคณะ (Lawler and others) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. แรงจูงใจในตนเองของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. แรงจูงใจในตนเองส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

SELF-MOTIVATION AFFECTING PARTICIPATORY MANAGEMENT OF SCHOOL UNDER KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

The purposes of this research were to find: 1) the self-motivation of school under Kanchanaburi Educational Service Area Office 3. 2) the participatory management of school under Kanchanaburi Educational Service Area Office 3. 3) the self-motivation affecting participatory management of school under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3. The samples consisted of 58 schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3. There were 4 respondents from each school, 232 totally. The research instrument used for gathering data was a questionnaire concerning the self-motivation based on the viewpoint of Spitzer, and the participatory management based on the viewpoint of Lawler and others. The statistics used for analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.

The results of this research were as follows:

1. The self-motivation of school under Kanchanaburi primary Educational Service Area Office 3 as a whole and individual were found at a high level.

2. The participatory management of school under Kanchanaburi Educational Service Area Office 3 as a whole and individual were found at a high level.

3. The self-motivation affecting participatory management of school under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3 at .01 significant.


Article Details

บท
บทความวิจัย