การใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • นพดล เล็กบาง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สำเริง อ่อนสัมพันธุ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ 2) การใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของบุคลากร 3) แนวทางในการใช้ธรรมาภิบาลมาใช้ในโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือบุคลากรของโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครูผู้สอน 23 คน และกรรมการสถานศึกษา 13 คน รวมทั้งสิ้น 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ตามแนวคิดขององค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (\mu) และส่วนเบี่ยงเบี่ยงเบนมาตรฐาน (\sigma) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. การใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ ด้านภาระรับผิดชอบ ด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพด้านความโปร่งใส ด้านการมุ่งเน้นฉันทามติ ด้านความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม ด้านการตอบสนอง ด้านการมีส่วนร่วมและด้านนิติธรรม

2. การใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของบุคลากร โดยรวมไม่แตกต่าง
กัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแตกต่างกัน 2 ด้าน คือด้านการตอบสนอง และด้านวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์

3.แนวทางการใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ตามแนวคิดขององค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) 9 ประการ เป็นดังนี้ 1) เปิดโอกาสให้การรวมกลุ่มการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความรู้ ความสามารถ 2) จัดการอบรมให้ความรู้ในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บุคลากรในโรงเรียน 3) ประชุมชี้แจง แผนงาน แนวทางการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน ในการประชุมประจำเดือน 4) จัดการประชุมร่วมกับบุคลากรในการกำหนดเกณฑ์การจัดสวัสดิการให้กับบุคลากรอย่างชัดเจน และดำเนินการตามมติที่ประชุม 5) ฟังรับความคิดเห็นซึ่งมีความแตกต่าง และยอมรับผลการปฏิบัติงานแล้วพร้อมพัฒนางานต่อไป โดยยึดหลักประชาธิปไตย 6) กำหนดเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบตามผลการปฏิบัติงาน 7) จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียนและการนำงานวิจัยในชั้นเรียนไปพัฒนาการเรียนการสอน 8) จัดทำแผนปฏิบัติราชการและมีการติดตามแผนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม 9. จัดการประชุมบุคลากรเพื่อร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา ตามบริบทของโรงเรียน

 

GOOD GOVERNANCE IN NIWITRATUPATHUM SCHOOL

The purposes of this research were to analyze: 1) using good governance in Niwitratupathum School, 2) using good governance in Niwitratupathum School classified by personnel opinion, and 3) Guideline for applying the good governance in Niwitratupathum School. The population in this research consisted of a school administrator, 23 teachers, and
13 school committees in 37 totally. The research instrument used for gathering data was a questionnaire concerning using good governance based on viewpoint of United Nations Development Program (UNDP). The statistics applied in data analysis were frequency (f), percentage (%), arithmetic mean ( ) standard deviation ( ) and content analysis.

The results of this research were as follows:

1. Using good governance in Niwitratupathum School as a whole and individuals were at a high level sorted by descending order ; Strategic Vision, Accountability, Effectiveness and Efficiency, Transparency, Consensus-Oriented, Equity, Responsiveness, Participation and Rule of Law.

2. Using good governance in Niwitratupathum School classified by personnel opinion as a whole had no difference but considering as individuals had two different aspects which being the Responsiveness and the Strategic Vision.

3. The guidelines for applying the good governance in Niwitratupathum School were 9 aspect are follows : 1. Having the opportunities or activities for the personnel to work in group regarding to the appropriate personnel abilities. 2. Having a training in the rules and regulations of duties for the school personnel. 3. Having a clarification of the working plan, scope of operation and the result in each of the monthly meetings. 4. Having a meeting with staff to determine the welfare of personnel clearly and implementation of the resolution. 5. listening to the different opinions, accepting the result of performance and developing the work based on the principles of democracy. 6. Having the significant criteria for determining the result of performance. 7. Having a training in how to do the research in the classroom and lead to improve the teaching and the students’ learning. 8. Planning, preparing the action plan and monitoring of the operations explicitly. 9. Having a meeting staff to prepare the action plan for the school year, which guiding the implementation of projects and activities regarding to the requirements needed by the school context.


Downloads