การประเมินตัวแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปรับตัวผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยขั้นตอนดีเมอิก

Main Article Content

ภาวิดา บุตรเนียม
ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์
เอกนฤน บางท่าไม้
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างตัวแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปรับตัวด้วยขั้นตอน ดีเมอิก และ 2) ศึกษาการยอมรับตัวแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปรับตัวด้วยขั้นตอนดีเมอิก ดำเนินการวิจัยโดยการบูรณาการกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ และขั้นตอนดีเมอิก และประเมินคุณภาพของซอฟต์แวร์โดยใช้หลักการยอมรับของผู้ใช้ที่มีต่อตัวแบบซอฟต์แวร์ โดยเก็บข้อมูลจาก 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 90 คน จากโรงเรียนภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา ปีการศึกษา 2555 2) ครู จำนวน 6 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสื่อและด้านการเรียนการสอน จำนวน 3 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1) ตัวแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปรับตัวด้วยขั้นตอนดีเมอิก ประกอบด้วย 6 โมดูล คือ โมดูลผู้เรียน โมดูลเนื้อหาสาระ โมดูลการสอน โมดูลการสื่อสาร และโมดูลการปรับตัวและโมดูลส่วนต่อประสาน โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับสูง (  = 4.33, S.D.= 0.57 ) และ 2) การยอมรับของนักเรียนที่ได้ทดลองใช้ตัวแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปรับตัวด้วยขั้นตอนดีเมอิก อยู่ในระดับสูง (  =4.23, S.D.=0.77)

 

Evaluation of Adaptive Learning Model with DMAIC

The research objectives were to 1) create a model of adaptive learning with DMAIC, and 2) assess the user acceptance towards the adaptive learning model with DMIC. The research integration with software development, DMAIC and evaluation quality of software by the user acceptance of the model. The sample were ninety Mathayomsuksa 2 students purposively selected from King’s College, Kanjanapisek Wittayalai Nakornphathom School, Watraikhing Wittaya School in Nakhonpathom province studying in the 2012 academic year, six teachers and three media design and learning and teaching experts. Statistics used for data analysis were the mean and standard deviation.

The research results were as follows:

1) The design and development of the adaptive online-learning model with DMAIC resulted in 6modules, namely student module, domain module, pedagogical module, communication module, adaptive module and user interface module. The prototype system was highly satisfied by the experts (  = 4.33, S.D.= 0.57 ). 2) The user acceptance of the adaptive learning model on the Internet with DMAIC was at a high level (  =4.23, S.D.=0.77 ).

Article Details

บท
บทความวิจัย