การพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วิลาวัลย์ ดุริยะประพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ การคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ (3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และ (4) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 43 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ 7 ชุด (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์และ (4) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าทีแบบ t-test แบบ dependent ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่อง ทรัพยากร ธรรมชาติ มีประสิทธิภาพ 81.08/81.15 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่อง ทรัพยากร ธรรมชาติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่อง ทรัพยากร ธรรมชาติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ (4) นักเรียนมีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

THE DEVELOPMENT IN EXERCISES OF ANALYTICAL THINKING SKILL BY USING THE SIX THINKING HATS TECHNIQUES ON TOPIC OF “NATURAL RESOURCES” FOR THE STUDENTS IN PRATHOM SUKSA 5 (GRADE 5) AT TESSABAN 1 SCHOOL (TAENGORN BHADERM VIDDHAYA) IN SURAT THANI PROVINCE

The purpose of this research were to (1) Develop in exercises of analytical thinking skill by using the six thinking hats techniques on the topic of “Natural Resources” for the students in order to meet the hypothetical efficiency criterion o of 80/80 percent (2) determine the student’s learning effectiveness before and after applying exercises of Analytical thinking skill with the six thinking hats techniques (3) compare the students’ analytical thinking before and after launching exercises of Analytical thinking skill with the six thinking hats techniques and (4) study the students’ opinions on the exercises of Analytical thinking skill with the six thinking hats techniques in learning.

The 43 students from Prathom Suksa 5/3, academic year 2011, were simply selected by drawing lots. Research consisted of 4 main instruments, (1) 7 plans of the Six Thinking Hats Learning Method (2) a learning effectiveness Test (3) an analytical thinking test (4) an attitude toward the Six Thinking Hats Technique Test. The statistical procedures, t-test dependent, average, and standard deviation, were applied in order to support data analysis.

Research findings revealed that (1) The exercises of analytical thinking skill with the six thinking hats technique in learning the natural resources was found at 81.08/81.15 percent higher than the hypothetical efficiency criterion of 80/80 percent (2) The students’ learning achievement outcome gained after learning the exercises of analytical thinking skill with the six thinking hats techniques in learning the natural resources was significantly demonstrated at the statistical level of 0.05 higher than the one demonstrated before learning the exercises of analytical thinking skill (3) The students’ analytical thinking after learning the exercises of analytical thinking skill with the six thinking hats techniques in learning the natural resources was significantly demonstrated at the statistical level of 0.05 higher than the one demonstrated before learning the exercises of analytical thinking skill and (4) The students revealed, overall, positive opinions about the exercises of analytical thinking skill with the six thinking hats techniques in learning the natural resources at very high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย