วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd <p><strong>Online ISSN</strong> 2697-4541</p> <p><strong>Print ISSN</strong> 1906-8255</p> th-TH [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสุดา เตียเจริญ) [email protected] (นางสาวชนนี แสนศรี) Tue, 06 Feb 2024 12:03:52 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การบริหารงานกิจการลูกเสือของศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/257028 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>&nbsp; การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานกิจการลูกเสือของศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 <br>2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจการลูกเสือของศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ประชากรประกอบด้วย ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน รองอำนวยการลูกเสือโรงเรียน และครูผู้สอนลูกเสือ รวมทั้งสิ้นจำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับ การบริหารงานกิจการลูกเสือ 4 ด้าน ตามสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">การบริหารงานกิจการลูกเสือของศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) <br>สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก <br>เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าผลอยู่ระดับมากทุกด้าน โดยเรียงมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ <br>ด้านลูกเสือ ด้านผู้กำกับลูกเสือ ด้านการจัดมวลกิจกรรม และด้านผู้บริหาร</li> <li class="show">แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจการลูกเสือของศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า ควรจัดให้มีการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ โดยส่งเสริมให้มีการฝึกทักษะต่างๆ ตามหลักสูตร เน้นให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาและจิตอาสา ผู้บริหารต้องกำหนดโครงการให้ชัดเจนพร้อมทั้งการร่วมสนับสนุนทั้งทรัพยากรและบุคลากร ให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมลูกเสือร่วมกัน พร้อมทั้งมีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงาน</li> </ol> <p>ผู้กำกับลูกเสือควรเข้าร่วมการอบรมพัฒนาตนเองเพื่อให้มีวุฒิทางลูกเสือ มีการร่วมวางแผนกิจกรรมลูกเสือให้สอดคล้องกับนโยบายและบริบท ด้านการจัดมวลกิจกรรมลูกเสือ ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมให้มีความทันสมัย บูรณาการทักษะ เพื่อเพิ่มความรู้ คุณธรรม และจริยธรรม</p> อรรถพล ส่งอัมพร, สงวน อินทร์รักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/257028 Tue, 06 Feb 2024 00:00:00 +0700 การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/256748 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย 2) แนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา <br>4 คน และครู 104 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li class="show">การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ด้านการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศด้านการประมวลผลข้อมูล ด้านการรวบรวมข้อมูล และด้านการตรวจสอบข้อมูล ตามลำดับ</li> </ol> <ol start="2"> <li class="show">แนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 1) ด้านการรวบรวมข้อมูล สถานศึกษาควรมีการวางแผน กำหนดแนวปฏิบัติ วิธีการหรือรูปแบบในการรวบรวมข้อมูล และจัดอบรมหรือให้ความรู้แก่ผู้ที่รับผิดชอบ 2) ด้านการตรวจสอบข้อมูล <br>ควรกำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจน และจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบข้อมูล ที่มีระเบียบแบบแผน 3) ด้านประมวลผลข้อมูล ควรมีการพัฒนาหรือจัดหาเครื่องมือ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการประมวลผลข้อมูล และกำกับ ติดตาม และประเมินผลการประมวลผลข้อมูล 4) ด้านการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ควรปรับวิธีการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลาย และเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 5) ด้านการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ ควรมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ฐานข้อมูลส่วนกลาง สามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อยู่เสมอ และมีการตรวจสอบและป้องกันการแก้ไขข้อมูลจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยการกำหนดรหัสในการเข้าใช้</li> </ol> อมเรศ ชาตรูปะชีวิน, สายสุดา เตียเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/256748 Tue, 06 Feb 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/256755 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ 2) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ โดยศึกษาประชากร คือ โรงเรียนในสหวิทยาเขต จำนวน 10 โรง ในแต่ละโรงกำหนดผู้ให้ข้อมูล 4 คน คือ ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้เป็นผู้แทนครู 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 คน และครู &nbsp;1 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองตามผลการวิจัยของสุคนธ์ มณีรัตน์ 2) แบบสอบถามปลายเปิดสำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเจรจาต่อรอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li class="show">การเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน โดยเรียงมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพของผู้เจรจาต่อรอง ด้านการวางแผนการเจรจาต่อรอง ด้านการติดต่อสื่อสารในการเจรจาต่อรอง และด้านกลยุทธ์การเจรจาต่อรอง อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผลในการเจรจาต่อรองและด้านความสัมพันธ์ในการเจรจาต่อรอง</li> <li class="show">แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ พบว่า ด้านกลยุทธ์ในการเจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยสร้างทางเลือกที่เป็นประโยชน์ การพัฒนาต้องปรับข้อขัดแย้งให้เป็นข้อตกลงให้ได้ ด้านการวางแผนการเจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยการเป็นผู้มองบวก คิดบวก สนใจประเด็นในการเจรจา การพัฒนาควรมีการวางแผนในการเจรจาทุกครั้ง การติดต่อสื่อสารในการเจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยรับฟังความคิดเห็น มองถึงประโยชน์ของส่วนรวม การพัฒนาควรคำนึงถึงความต้องการของคู่เจรจา บุคลิกภาพของผู้เจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยการสร้างสัมพันธภาพและวางแผนในการใช้เทคนิคของการเจรจาได้ ด้านความสัมพันธ์ในการเจรจาต่อรอง มีการพัฒนาโดยผู้เจรจารู้จักการให้และการรับ ด้านประสิทธิผลของการเจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยการให้ผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าเจรจาต่อรองกับผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า การพัฒนาโดยการมอบหมายการเจรจาต่อรองกับผู้ที่มีความเหมาะสมกว่า</li> </ol> เบ็ญจวรรณ สินณรงค์, นพดล เจนอักษร Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/256755 Wed, 07 Feb 2024 00:00:00 +0700 The แนวทางการพัฒนาการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษา บางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/259291 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การนิเทศการศึกษาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1&nbsp; <br>2) แนวทางการพัฒนาการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้บริหารและครู จำนวน 60&nbsp; คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา ตามแนวคิดของ กลิคแมน, กอร์ดอนและรอสกอร์ดอน (Glickman, Gordon and Ross Gordon) )&nbsp; สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">การนิเทศการศึกษาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากโดยเรียงโดยเรียงลำดับมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการพัฒนางานกลุ่ม ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ</li> <li class="show">แนวทางการพัฒนาการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า โรงเรียนควรให้โอกาสครูให้มีบทบาทหน้าที่เป็นทั้งผู้นำและผู้ตามในการทำงานกลุ่ม ให้การส่งเสริมสนับสนุนและให้บริการครู มีการสังเกตการสอน ใช้กระบวนการ PLC มาช่วยในการนิเทศการสอน ให้ความสำคัญเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาตนเองของครู ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร และส่งเสริมสนับสนุนให้ครูนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการแก้ปัญหาและแนะแนวทางในการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ถูกต้องแก่ครู ควรใช้เกณ์การประเมิน PA มาช่วยในการนิเทศการศึกษาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน</li> </ol> อดุลย์ แสนสิบ, สายสุดา เตียเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/259291 Fri, 09 Feb 2024 00:00:00 +0700