วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd
<p><strong>วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร</strong></p> <p><strong>Online ISSN : </strong>2697-4541 <strong>Print ISSN : </strong>1906-8255</p> <p><strong>นโยบายวารสาร</strong></p> <p> วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร มีเป้าหมายในการเผยแพร่งานวิจัย บทความวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาและสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเชิงวิชาการวารสารมุ่งเน้นคุณภาพของบทความโดยมีการประเมินและตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ (peer review) เพื่อให้มั่นใจว่าทุกบทความมีมาตรฐานที่สูงและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาในยุคปัจจุบัน</p> <p><strong>ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์</strong></p> <p>บทความวิจัย, บทความวิชาการ</p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่</strong></p> <p>วารสารตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</p>
ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
th-TH
วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
1906-8255
-
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสถานศึกษาจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนวัดบ่อน้ำจืด
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/274498
<p> การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ข้อสรุปการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนวัดบ่อน้ำจืด ใช้ แนวคิดการประเมินมาตรฐานการศึกษาตามเกณฑ์ของสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบสี่ โดยวิธีการวิจัยเอกสาร 2. แนวทางในการพัฒนาผลการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนวัดบ่อน้ำจืด โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ แบ่งกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มระดับการศึกษาปฐมวัยและกลุ่มระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่แบบบันทึกกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ข้อสรุปการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนวัดบ่อน้ำจืด ระดับการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินภายนอก 4 ข้อ อาทิ ควรเพิ่มเติมค่าเป้าหมายพัฒนาการเด็ก 4 ด้าน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินภายนอก 2 ข้อ อาทิ ควรระบุข้อมูลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินภายนอก 3 ข้อ อาทิ ควรระบุข้อมูลด้านการกำหนดให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินภายนอก 2 ข้อ อาทิ ควรเพิ่มเติมข้อมูลด้านการส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ตามมาตรฐานหลักสูตรให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินภายนอก 2 ข้อ อาทิ ควรระบุข้อมูลให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นในด้านการพัฒนาที่เน้นคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินภายนอก 4 ข้อ อาทิ ควรเพิ่มเติมข้อมูลการกำหนดให้ครูจัดทำแผนการ จัดการเรียนรู้ครบทุกรายวิชา</li> <li>แนวทางในการพัฒนาผลการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนวัดบ่อน้ำจืด โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นพหุแนวทาง โดยระดับการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 8 แนวทาง อาทิ การตั้งเป้าหมายพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กให้ชัดเจนทั้งรูปแบบร้อยละและระดับคุณภาพ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 4 แนวทาง อาทิ การรายงานแนวทางการพัฒนาผลการประเมินที่ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย มาตรฐาน ที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 6 แนวทาง อาทิ การรายงานการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 4 แนวทาง อาทิ การรายงานการส่งเสริมผู้เรียนตามมมาตรฐานหลักสูตร ที่สถานศึกษากำหนด มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 4 แนวทาง อาทิ การรายงานข้อมูลการพัฒนาที่เน้นคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 8 แนวทาง อาทิ การรายงานการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้</li> </ol>
อาทิตยา จันทร์แก้ว
นพดล เจนอักษร
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
111
128
-
การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนบ้านคลองวาฬ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/271687
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนบ้านคลองวาฬ 2) แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนบ้านคลองวาฬ ประชากร คือ บุคลากรของโรงเรียนบ้านคลองวาฬจำนวน 18 คน (ไม่รวมผู้วิจัย) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 1 คน ข้าราชการครูจำนวน 13 คน พนักงานราชการครูจำนวน 1 คน และครูอัตราจ้าง จำนวน 3 คน ทั้งนี้ โดยใช้ประชากรเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนบ้านคลองวาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 9 ด้าน โดยเรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมาย ด้านภาวะผู้นําที่เหมาะสม ด้านการติดต่อสื่อสารที่ดี ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง ด้านการตรวจสอบทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ด้านสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่ม ด้านบทบาทต่าง ๆ ที่สมดุล ด้านการสนับสนุนและไว้วางใจกัน และด้านกระบวนการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสม และพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยเรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการเปิดเผยและการเผชิญหน้า</li> <li>แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนบ้านคลองวาฬ เป็นพหุแนวทาง โดยมี 9 ด้าน อยู่ในระดับมากซึ่งเป็นแนวทางในการส่งเสริม มีทั้งหมด 153 แนวทาง และมี 2 ด้านที่าอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนามีทั้งหมด 33 แนวทาง</li> </ol>
สุทัตตา ภักดีเรือง
นพดล เจนอักษร
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
15
30
-
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/275003
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ จำนวน 9 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 1 คน และ 3) ครู จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย คือ การส่งเสริมการปฏิบัติงานให้ผู้อื่น การสร้างแรงบันดาลใจต่อวิสัยทัศน์ร่วม การสร้างขวัญกำลังใจ การเป็นต้นแบบนำทาง และความกล้าท้าทายต่อกระบวนการ</li> <li>แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ประกอบด้วยหลายแนวทาง ได้แก่ ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดี มีความรู้ สามารถให้คำแนะนำแก่ครูได้สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี เปิดรับฟังความคิดเห็น ใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และเลือกแนวทางการดำเนินงานใหม่ ๆ ที่เหมาะสม พร้อมยอมรับความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ส่งเสริมให้ครูมีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และส่งเสริมครูในทุกด้านตามความสนใจ สร้างแรงบันดาลใจ เสริมแรง และสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยการเผยแพร่ผลงาน และรางวัลของครูผ่านช่องทางต่าง ๆ ของโรงเรียน และร่วมแสดงความยินดีแก่ครูในโอกาสต่าง ๆ อย่างเหมาะสม</li> </ol>
ดวงใจ นามลังกา
ขัตติยา ด้วงสำราญ
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
129
144
-
การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/271707
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี และ 2) แนวทางส่งเสริมการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี ประชากร คือ คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการที่ปรึกษาสถานศึกษา และบุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี จำนวนทั้งสิ้น 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ การประเมินความสามารถพื้นฐาน การประเมินความก้าวหน้า การคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษาและการส่งต่อ และการเก็บรวบรวมข้อมูล</li> <li>แนวทางส่งเสริมการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย 7 ด้าน 15 แนวทาง คือ 1) ด้านการรวบรวมข้อมูล มีสี่แนวทาง คือ (1) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงความจําเป็นในการซักประวัติ และรวบรวมหลักฐานเพื่อแก้ปัญหาผู้ปกครองไม่ให้ข้อมูล (2) ควรมีการจัดเก็บเอกสารเป็นหมวดหมู่ และบันทึกลงในคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นหาที่สะดวกและรวดเร็ว (3) ควรมีการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมเพื่อจะได้วางแผนการให้บริการได้เหมาะสมที่สุด (4) ควรมีการจัดสรรบุคลากร และงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาการให้บริการที่ไม่ครอบคลุมและมีคุณภาพ 2) ด้านการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา มีสองแนวทาง คือ (5) ควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูสามารถคัดกรองนักเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (6) ควรมีแบบคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษาที่มีมาตรฐานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด 3) ด้านการประเมินความสามารถพื้นฐาน มีสองแนวทาง คือ (7) ควรมีการประเมิน ความสามารถพื้นฐานที่ตรงกับสภาพจริงและเทียบเกณฑ์กับพัฒนาการเด็กทั่วไป (8) ควรมีการจัดทำคู่มือการประเมินความสามารถพื้นฐานที่ระบุวิธีการและสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการประเมินอย่างชัดเจนและใช้เหมือนกันทั่วประเทศ 4) ด้านการการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล มีสามแนวทาง คือ (9) ควรจัดทำแผน IEP. ให้กับเด็กทุกคน (10) ควรจัดอบรมครูสม่ำเสมอให้มีทักษะในการจัดทำแผน IEP. และนําไปสู่การ ปฏิบัติโดยแผน IIP. (11) ควรให้ผู้ปกครองมาร่วมประชุมด้วยไม่ใช่ครูเขียนขึ้นมาแล้วให้ ผู้ปกครองลงนามเท่านั้น 5) ด้านการให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม มีสองแนวทาง คือ (12) ควรมีการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรเพิ่ม (13) ควรให้บริการตามแผน IEP, และ IIP. ที่ได้กำหนดไว้ ไม่ใช่ให้บริการตามความต้องการของครู 6) ด้านการประเมินความก้าวหน้า มีหนึ่งแนวทาง คือ (14) ควรมีการจัดประชุมเพื่อสรุปความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคน ตลอดจนมีการรายงานความก้าวหน้าโดยมี พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผล และการตัดสินใจในการปรับกิจกรรมให้มีความเหมาะสม อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง 7) ด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ มีหนึ่งแนวทาง คือ (15) ควรมีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล ก่อนการส่งต่อ และหลังการส่งต่อทางการศึกษาส่งผลต่อความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคนก่อนส่งไปในสถานศึกษาปลายทางทั้งนี้ให้คำนึงถึงความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล และความสะดวกของผู้พิการเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการศึกษา และการฟื้นฟูศักยภาพอย่างเต็มที่</li> </ol>
ปรเมศร์ บำรุงหนูไหม
นุชนรา รัตนศิระประภา
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
31
49
-
การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/275022
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3 2) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ โรงเรียนในกลุ่มกำแพงแสน 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 12 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) หัวหน้าฝ่ายบุคคล จำนวน 1 คน 3) ครูจำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน และระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ตามลำดับ</li> <li>แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3 ประกอบด้วยหลายแนวทาง โดยจำแนกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ครูควรมีการพัฒนาตนเองโดยแบ่งเวลาในแต่ละวันเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม 2) ควรเปิดโอกาสให้ครูเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามเพื่อที่จะสามารถเรียนรู้และปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และ 3) ครูควรเข้าไปสร้างสัมพันธ์และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง</li> </ol>
วรัญญา ยินดี
ขัตติยา ด้วงสำราญ
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
145
158
-
แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/271709
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม และ 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมประชากร คือ บุคลากรของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม จำนวนทั้งสิ้น 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา การดูแลอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การจัดการระบบควบคุมภายในหน่วยงาน ด้านการดำเนินงานธุรการ การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ และ การส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงาน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา</li> <li>แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ประกอบด้วย 10 แนวทางคือ 1) มีการประชุมหารือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ อยู่เสมอ 2) เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน และร่วมแก้ไขปัญหา 3) มีการวางแผนการพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ และกำหนดจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน 4) มีการติดตามและประเมินผลการทำงานในด้านการพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ 5) ดำเนินการจัดระบบการบริหารให้เป็นไปตามโครงสร้างหรือขอบข่ายงานขององค์กร และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถ 6) นำวงจรเดมมิ่ง (PDCA) เข้ามาใช้ในการดำเนินงานต่างๆ 7) สร้างกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ข้อมูล และผลงานของสถานศึกษาในหลากหลายรูปแบบ 8) จัดหาเจ้าหน้าที่ธุรการให้เหมาะสมกับจำนวนงาน 9) จัดหาฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานด้านธุรการได้ตามระบบที่กำหนดไว้ 10) ปรับปรุงและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความทันสมัยอยู่</li> </ol>
ชมพูนุท คำธารา
วรกาญจน์ สุขสดเขียว
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
50
64
-
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/275038
<p><strong> </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการตามแนวคิดของ ฮอลลิงเจอร์ และเมอร์ฟี่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน นวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 4 ด้าน อยู่ในระดับระดับมาก จำนวน 6 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 1 ด้าน</p> <p> 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ในสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน</p>
อนุชิต บูรณพันธ์
มัทนา วังถนอมศักดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
159
170
-
หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/273876
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) แนวทางการพัฒนาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ประชากร คือ โรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษา จำนวน 14 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ข้าราชการครู จำนวน 1 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้เป็นบุคคลภายนอก จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 42 คน โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 6 ด้าน ดังนี้ หลักความเสมอภาค หลักคุณธรรมและจริยธรรม หลักนิติธรรม หลักภาระรับผิดชอบ และตรวจสอบได้ หลักความเปิดเผยและโปร่งใส และหลักการกระจายอำนาจ และอยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ด้าน ดังนี้ หลักประสิทธิผล หลักประสิทธิภาพ หลักการมีส่วนร่วมและการพยายามแสวงหาฉันทามติ และหลักการตอบสนอง ตามลำดับ</p> <p>2) แนวทางการพัฒนาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีทั้งหมด 16 แนวทาง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักประสิทธิภาพ ด้านหลักประสิทธิผล ด้านหลักการตอบสนอง ด้านหลักภาระรับผิดชอบและตรวจสอบได้ ด้านหลักความเปิดเผยและโปร่งใสด้านหลักการมีส่วนร่วม และการพยายามแสวงหาฉันทามติด้านหลักการกระจายอำนาจ และด้านหลักคุณธรรมและจริยธรรม</p>
ชลธิชา เผดิมดี
สงวน อินทร์รักษ์
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
65
83
-
แนวทางการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/274008
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา 2) แนวทางการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จำนวน 70 คน และ บุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยาที่ตอบแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejci and Morgan) แล้วเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภท (Stratified Random Sampling) ตามตำแหน่งหน้าที่หลัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา ภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับผลการวิเคราะห์ตามค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากมากไปน้อย ดังนี้ ความเต็มใจที่จะพยายามปฏิบัติงานเพื่อองค์การ <br />(<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.49, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?S.D." alt="equation" /> = 0.62) ความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าที่จะยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.04,<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?S.D." alt="equation" /> = 0.68) และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาความเป็นสมาชิกภาพขององค์การ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.02, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?S.D." alt="equation" /> = 0.78)</p> <p> 2) แนวทางการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา เป็นแบบพหุแนวทาง มี 10 แนวทาง ได้แก่ 1) บริหารงานโดยให้สมาชิกในองค์การมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของโรงเรียน 2) มอบหมายงานตามความสามารถของบุคลากร 3) กำกับติดตามการปฏิบัติงานที่มอบหมายแก่บุคลากร 4) สร้างความตระหนักรู้ให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมาย 5) ให้อิสระในการปฏิบัติงาน 6) ให้กำลังใจ รวมทั้งประเมินผลการทำงานด้วยความยุติธรรม 7) สร้างบรรยากาศในการทำงานให้เป็นสังคมแห่งความเกื้อกูล 8) รับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทุกคนอย่างเท่าเทียม 9) อำนวยความสะดวกให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ปฏิบัติตนเป็นปรปักษ์ในการทำงาน 10) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ของบุคลากรอย่างทั่วถึงโดยไม่จำกัดตำแหน่งหน้าที่</p>
ชญานนท์ อินทร์ภิรมย์
นุชนรา รัตนศิระประภา
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
84
95
-
ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/274121
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 2) ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประชากร คือ ข้าราชการครู จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแสดงความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> </span> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบรรทัดฐาน ด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่อย่างต่อเนื่อง</li> <li class="show">ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่อย่างต่อเนื่อง และด้านบรรทัดฐาน พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน</li> </ol>
รัตติยากร สนธิเณร
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
96
110
-
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มโรงเรียนโพธิ์พระยา เมืองสุพรรณบุรี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/271676
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) เพื่อทราบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มโรงเรียนโพธิ์พระยา เมืองสุพรรณบุรี 2) เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มโรงเรียนโพธิ์พระยา เมืองสุพรรณบุรี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นหน่วยวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนโพธิ์พระยา เมืองสุพรรณบุรี ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 70 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 6 คน และครูผู้สอน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ และร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มโรงเรียนโพธิ์พระยา เมืองสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มโรงเรียนโพธิ์พระยา เมืองสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้านได้แก่ ด้านการฝึกอบรม และอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา ตามลำดับ</li> <li>แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มโรงเรียนโพธิ์พระยา เมืองสุพรรณบุรี ประกอบด้วย 1) ด้านการฝึกอบรม ได้แก่ สำรวจความต้องการอบรมของคณะครูและบุคลากร 2) ด้านการศึกษา ได้แก่ เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มคุณวุฒิทางการศึกษาลงในโครงการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน 3) ด้านการพัฒนา ได้แก่ สำรวจความต้องการขององค์กรว่ามีภารกิจการปฏิบัติงานอะไรบ้างที่เร่งด่วน สำคัญ จำเป็น และวิเคราะห์ความถนัดและความสามารถของบุคลากร</li> </ol>
บุษกร เรืองเดช
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
15 2
1
14