การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

Main Article Content

อัครนันท์ ชัยธัมมะปกรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงคเ์ พื่อ 1) เพื่อศึกษาการมีสว่ นรว่ มของบุคลากรในการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 3) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของบุคลากร 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร กฟผ. ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ ณ สำนักงานกลาง บางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 433 คน แบ่งออกเป็นผู้บริหาร จำนวน 82 คน และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 351 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ฉบับซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .983 และ .974 ตามลำดับ ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1) บุคลากรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม CSR อยู่ในระดับมาก ( \dpi{80} \bar{X} = 3.922, S.D. = .518)

2) บุคลากรมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) อยู่ในระดับมาก( \dpi{80} \bar{X} = 4.117, S.D. = .539)

3) ปัจจัยตำแหน่งงาน และปัจจัยการเข้าร่วมกิจกรรม CSR ไม่มีผลต่อการดำเนินการตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยภาพรวม ส่วนปัจจัยอายุงาน มีผลต่อการดำเนินการตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P=.006) และ

4) การรับรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .578, P = .000)

 

PERSONNEL’S PARTICIPATION IN EGAT’S PERFERMANCE ACCORDING TO CSR CONCEPT

The objectives of this research were 1) to study personnel’s participation in EGAT's performance according to CSR concept, 2) to study personnel’s perception of EGAT’s performance according to CSR concept, 3) to compare personnel’s participation in EGAT’s performance according to CSR concept classified by personnel’s data and 4) to study the relationship between personnel’s perception of EGAT’s performance according to CSR concept and participation in EGAT’s performance according to CSR concept. The samples were composed of 433 personnel at the office in Bang Kruai, Nonthaburi Province. The data were collected by two questionnaires with Crobach’s alpha coefficient of .983 and .974, respectively. Statistical tools used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and Pearson’s product moment correlation coefficient.

Research findings were as follows:

1) the overall personnel’s participation in EGAT’s performance according to CSR concept was at a high level ( \dpi{80} \bar{X} = 3.922, S.D. = .518)

2) the overall personnel’s perception of EGAT's performance according to CSR concept was at a high level ( \dpi{80} \bar{X} = 4.117, S.D. = .539)

3) personnel’s position and participation in CSR activities did not significantly affect EGAT’s performance according to CSR concept but duration of work significantly affected the participation at 0.05 level of significance and

4) personnel’s perception of EGAT's performance according to CSR concept was positively and significantly correlated with their participation at a moderate level (r = .578, P=.000).

Article Details

บท
บทความวิจัย