สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

มยุรา เนินหาด
ศันสนีย์ จะสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารกับการรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มประชากรคือโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2556 จำนวน 37 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารจำนวน 110 คน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการบริการที่ดีและด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคล เป็นสมรรถนะที่ควรได้รับการพัฒนา โดยแนวทางในการพัฒนาคือเปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กร และให้โอกาสบุคลากรในการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะด้านภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากนั้นผู้บริหารต้องร่วมประสานเครือข่ายเพื่อความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน

 

ADMINISTRATIVE COMPETENCY OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE PRIMARY EDUCATION AREA, BANGKOK METROPOLIS IN SUPPORTING THE ASEAN COMMUNITY.

The purposes of this research were to study the administrative competency of school administrators under the primary education area, Bangkok Metropolis and to seek how to develop the administrative competency of administrators in supporting the ASEAN community. This research used mixed method between the quality research by interviewing 7 specialists and the quantity research by questionnaire sending to 37 schools under the primary education area, Bangkok Metropolis in the educational year 2013. The population were 110 administrators. The research result were the administrative competency of administrator was at high level especially achievement and leadership while good service and personal potential development should be developed. The development method should hearing from related persons opinion in order to find the way in the organization development and giving in the chance in self-development to those persons especially in language and information technology. Besides, administrators should join together in cooperation with knowledge management supporting to ASEAN community.

Article Details

บท
บทความวิจัย