ความสุขในการทำงานกับสมรรถนะข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตบางพลัด

Main Article Content

อภิชาติ นิลภาทย์
สายสุดา เตียเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเ์ พื่อทราบ 1) ระดับความสุขในการทำงานและสมรรถนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตบางพลัด 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับสมรรถนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตบางพลัด 3) ทรรศนะของผู้บริหารเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดความสุขในการทำงานกับสมรรถนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตบางพลัด โดยมีข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่สำนักงานเขตบางพลัด จำนวน 11 โรงเรียน เป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of analysis) แบ่งเป็นครูชาย 22 คน และเป็นครูหญิง 114 คน รวมทั้งสิ้น 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความสุขในการทำงานตามแนวคิดของดายเนอร์ (Diener) และเกี่ยวกับสมรรถนะของครูกรุงเทพมหานคร ตามเกณฑ์สมรรถนะหลักของกรุงเทพมหานคร และสมรรถนะประจำสายงานของครูสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสุขในการทำงานของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตบางพลัดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามี 2 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความพึงพอใจในงาน และอารมณ์ทางบวก และอีก 2 ด้าน อยู่ในระดับมาก คือ ความพึงพอใจในชีวิตและอารมณ์ทางลบในระดับต่ำ ส่วนสมรรถนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงานเขตบางพลัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 2 ด้าน

2. ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับสมรรถนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงานเขตบางพลัด มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ทรรศนะของผู้บริหารในการส่งเสริมความสุขในการทำงาน ผู้บริหารจะเน้นการทำงานแบบให้ครูมีส่วนร่วม และหาแนวทางร่วมกันในการทำงาน สนับสนุน ช่วยเหลือครูทุกด้าน ให้อิสระในการทำงานและให้คำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลักเป็นตัวอย่างที่ดี เต็มที่และเต็มใจทำงานร่วมกันกับครู มีความเป็นกลางช่วยประสานให้เกิดความร่วมมือ ส่วนแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะ ผู้บริหารเน้นการทำงานเป็นทีม นิเทศสอนงานให้ เป็นกัลยาณมิตรกับครู มอบหมายงานให้ตามความถนัด สนับสนุนให้เข้ารับการฝึกอบรมและการศึกษาต่อเพื่อพัฒนาศักยภาพ สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์เต็มที่ เน้นย้ำให้ครูเต็มใจให้บริการผู้เรียน ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ

 

HAPPINESS OF WORK AND COMPETENCIES OF TEACHERS UNDER THE BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION IN BANGPHLAD DISTRICT OFFICE

The purposes of this research were to find: 1) The level of happiness at work and teachers’ competencies in Bangphlad Office under Bangkok Metropolitan, 2) The relationship between the happiness at work and teachers’ competencies in Bangphlad Office under Bangkok Metropolitan, and 3) The administrators’ perspectives on how to enhance happiness at work and teachers’ competencies in Bangphlad Office under Bangkok Metropolitan. The unit of analysis was teachers in Bangphlad Office under Bangkok Metropolitan. The respondents were teachers of 11 schools in Bangphlad Office under Bangkok Metropolitan, which were 22 male teachers and 114 female teachers, with the total of 136. The research instruments were 1) questionnaire concerning happiness at work, based on Diener and teachers’ competencies, based on core competencies defined by Bangkok Metropolitan and functional competencies, based on the Office of basic Education Commission of Thailand; 2) semi-structured interview for the school administrators. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation coefficient and content analysis.

The findings revealed as follows:

The overall happiness at work of teachers in Bangphlad Office under Bangkok metropolitan was at the high level. When considered each aspect individually, two aspects were at the highest level: job satisfaction and positive emotion; and two other aspects were found at the high level: life satisfaction and low-negative emotion. The teachers’ competency in Bangphlad Office under Bangkok metropolitan was found at the highest level, and when considered core competencies and functional competencies individually, it was found at the highest level as well.

2. The relationship between happiness at work and teachers’ competencies in Bangphlad Office under Bangkok metropolitan was found at .01 level of statistical significance.

3. The administrators’ perspectives on how to enhance happiness at work were emphasis on teacher involvement and teacher participation, teacher support, teacher autonomy and child-centered learning, role modeling, willingness to work with teachers, and being a mediator to coordinate school tasks. Administrators’ perspectives on how to enhance teachers’ competencies were emphasis on teamwork, mentoring and supervising, work delegation based on teachers’ ability, supporting teachers for professional skills, facilitating, service mind for students, teaching morale and ethic, and students’ potential development.

Article Details

บท
บทความวิจัย