การจัดการบริการการให้คำปรึกษาของงานแนะแนวโรงเรียนหัวหินวิทยาคม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อทราบการจัดการบริการการให้คำปรึกษาของนักเรียนกลุ่มปกตินักเรียนกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนกลุ่มมีปัญหา 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการบริการการให้คำปรึกษาของนักเรียนกลุ่มปกติ นักเรียนกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนกลุ่มมีปัญหา จำแนกตามเพศ อายุ และระดับชั้น มีประชากรเป็นนักเรียนโรงเรียนหัวหินวิทยาคม จำนวน 356 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีจับคู่แบบกลุ่ม (Group Matching Case) ได้แก่ นักเรียนกลุ่มปกติ 40 คน กลุ่มเสี่ยง 40 คน และกลุ่มมีปัญหา 40 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการบริการการให้คำปรึกษาของงานแนะแนวโรงเรียนหัวหินวิทยาคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้การทดสอบค่าที (t-test) และเปรียบเทียบความแตกต่าง โดย ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA)ผลการวิจัยพบว่า:
1) การจัดการบริการการให้คำปรึกษาของนักเรียนกลุ่มปกติ นักเรียนกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนกลุ่มมีปัญหา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มีการจัดการบริการการให้คำปรึกษาทุกขั้นตอน เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่า การจัดการบริการการให้คำปรึกษาของนักเรียนกลุ่มปกติ นักเรียนกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนกลุ่มมีปัญหา มีการจัดการบริการการให้คำปรึกษาตามขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ การวางแผน การตรวจสอบ การปฏิบัติตามแผน และการปรับปรุงและพัฒนาตามลำดับ
2) การเปรียบเทียบการจัดการบริการการให้คำปรึกษาของนักเรียนกลุ่มปกติ นักเรียนกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนกลุ่มมีปัญหาเมื่อจำแนกตามคุณลักษณะ คือ เพศ อายุ และระดับชั้น โดยภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน
COUNSELING SERVICES ADMINISTRATION OF HUAHINWITTAYAKHOM SCHOOL’S GUIDANCE SECTION
The purposes of the research were to find 1) the counseling services administration in normal, borderline and abnormal students and 2) the comparative of counseling services administration in normal, borderline and abnormal students classified by sex, aged and grade between the three sample groups, included 40 normal, 40 borderline and 40 abnormal students. The data was collect from 120 students by the research instrument questionnaire concerning the counseling services administration of Huahinwittayakhom School’s guidance section. The statistic used were frequency, percentage, means, standard deviation, t – test, and One – way ANOVA .
The findings revealed as follows
1) The counseling services administration of guidance in Huahinwittayakhom School, overall found that the process of the counseling service management in every step are at the level of counseling services administration. When concern in each aspect, have four process of counseling services administration in normal, borderline and abnormal students; ranking from the highest level to the lowest level as follow : Plan, Check, Do and Act.
2) There were no significantly different between the counseling services administration in the groups of normal, borderline and abnormal students classified by sex, aged and grade.